ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดี

ยางพันธุ์ใหม่ RRIT408 ผลผลิตสูง ทนแล้งได้ดีเหมาะปลูกที่อีสาน

         ยางพันธุ์ใหม่ "RRIT 408" ผลงานวิจัยล่าสุดของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานวิจัยยางให้กับ สกย.  จุดเด่นของยางพันธุ์ใหม่นี้ ปลูกง่าย โตไว ให้ปริมาณน้ำยางสูง เฉลี่ย 352 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่า RRIM 600 ถึงร้อยละ 62  ค่อนข้างต้านทานต่อใบร่วงไฟทอฟธอรา,ใบจุดก้างปลา ต้านทานปานกลางต่อราแป้ง,ใบจุดคอลเลโทตริกัม, โรคเส้นดำ และราสีชมพู ที่สำคัญ ทนความแห้งแล้งได้ดี ต้านทานลม ปานกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน

        ยางพันธุ์นี้ สถาบันวิจัยยางใช้เวลากว่า 25 ปีในการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเปิดกรีดและขณะนี้ได้เปิดกรีดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ซึ่งผลผลิตน้ำยางดีมาก และเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่ปลูกในภาคอีสานต่อไป เนื่องจากยางพาราสายพันธุ์นี้ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ที่สำคัญสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

      การเลือกพันธุ์ยางปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะยางแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมต่างกัน ในพื้นที่ปลูกที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคอีสาน เหนือและกลาง ซึ่งเจ้าของสวนยางจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางหรือเนื้อไม้ หรือทั้งน้ำยางและเนื้อไม้เพื่อจะได้เลือกพันธุ์ยางได้ถูกต้องและได้ผลตอบแทนตามที่หวัง

     "บางครั้งระดับน้ำในดินมีผลต่อการทำงานของรากยางด้วย อย่างพันธุ์ RRIT 251 และอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ไม่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ดีเช่น บีพีเอ็ม (BPM) 24 หรืออย่างโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 มักจะมีปัญหา แต่พันธุ์พีบี (PB) 255 กลับมีความต้านทานได้ดีกว่า แม้ผลผลิตน้ำยางจะน้อยกว่าอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ก็ตาม"

      จากอดีตจนปัจจุบันมียางหลายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยยางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางว่าจะเน้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้เป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะเหมาะกับพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปด้วย

ข้อมูลจาก www.km.rubber.co.th 



การผลิตและการใช้ยางของจีน

(เป็นข้อมูลเก่า แต่ยังคงน่าอ่าน)

การผลิตและการใช้ยางของจีน

ผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานด้านยางพาราที่มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่าววันที่ 30 สิงหาคม 2548 ถึง 3 กันยายน 2548 เป็นเวลา 5 วัน เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตยาง แนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกยาง และการใช้ยางของจีน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การตลาดและความต้องการใช้ยางในอนาคต รวมทั้งการขยายพื้นที่ปลูกยางของจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้ายางที่สำคัญของประเทศไทย ได้เห็นสภาพการปลูกยางของจีนในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางมากเป็นอันดับสองของประเทศ
ในปี 2547 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิต การตลาดยางและอุตสาหกรรมยางของจีนระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2547 ถึง วันที่ 7 มีนาคม 2547 เป็นเวลา 8 วัน ที่กรุงปักกิ่ง เมืองเซียงไฮ้และเมื่อ Dangzhou มณฑลไฮนาน ซึ่งเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดของจีน ตามโครงการศึกษาศักยภาพการผลิตและการส่งออกยาง และอุตสาหกรรมต่างๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลจากการศึกษาดูงานด้านยางพาราทั้งสองครั้ง ทำให้ผู้เขียนได้ทราบสถานการณ์การผลิต อุตสาหกรรมยางและความต้องการใช้ยางของจีนและเห็นปัญหาและความแตกต่างของการปลูกยางของจีนที่มณฑลไฮนานและมณฑลยูนนาน ที่ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากการศึกษาดูงานมาเล่าสู่กันฟัง

รถกระบะรับจ้าง

รถกระบะ(รถรั้ว,รถคอก) 

มีรถกระบะ (รถรั้ว,รถคอก) รับจ้างบริการ รับส่งสินค้า ทุกประเภท       ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ กล้ายาง หรือสินค้าอื่น ๆ โทรใช้บริการเรา แล้วท่านจะไม่ผิดหวัง  เรามีประกันสินค้าหากเกิดความเสียหาย  
โทรหาเราซิครับ....

"ทุกที่ ที่มีหนทาง โปรดไว้ใจวาง ถ้าสินค้าอยู่กับเรา" 

ติดต่อสอบถามราคา ได้เลย

083-2959695


ตัวแทนจำหน่ายกล้ายางพารา

ต้องการตัวแทนจำหน่ายกล้ายางพารา

เกษตรกร หรือเจ้าของแปลงยาง ท่านใดมีความต้องการ ที่จะเป็นตัวแทนจำหน่าย กล้ายางพารา เช่น ยางตาเขียว ยางชำถุง จากชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพตรัง ในตอนนี้ ทั่วทุกภาคของประเทศ  ได้ในราคาสมาชิก  โอกาสมาถึงแล้ว

สายพันธุ์กล้ายางของชมรม
  1. RRIM600
  2. RRIM600 (ยอดดำ)
  3. RRIT251
  4. TP48 (สายพันธุ์มาเลย์) ลิขสิทธิ์เฉพาะ

ตอนนี้ทางชมมรมได้เปิดโอกาสนั้นแล้ว ที่จะเป็นสมาชิกตัวแทนจำหน่ายของชมรม

เพียงแค่บอกความต้องการของท่าน  ท่านจะได้สิทธิ์พิเศษ ส่วนลดในราคาสมาชิก 

โทรถามรายละเอียด 

083-2959695
ติดต่อ คุณสุรชัย
ฝ่ายประสานงาน/ปฏิบัติการ


เกษตรเชื่ออนาคตจีนลดน้ำเข้ายางจากไทย

เกษตรเชื่ออนาคตจีนลดนำเข้ายางจากไทย



ก.เกษตรฯ 10 ก.พ. - กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์อนาคตจีนลดการนำเข้ายางพาราจากไทย หลังจีนหนุนปลูกยางในประเทศพื้นบ้านแทน แต่ข่าวดีค่ายผลิตรถยนต์ลงทุนในไทยมากขึ้น เชื่อว่าทดแทนการส่งออกได้

นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้วิเคราะห์สถานการณ์ยางพารา พบว่าผลผลิตของไทยมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงปี 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม จากการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ผลผลิตจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ1.44 ต่อปี

ขณะที่การส่งออกยางพาราของไทยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น จาก 2.83 ล้านตัน ในปี 2549 เป็น 2.84 ล้านตัน ในปี 2553 และคาดว่าปริมาณการส่งออกในช่วงปี 10 ปีจากนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 โดยในปี 2563 ปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.10 ล้านตัน สัดส่วนการส่งออกของไทยมีแนวโน้มลดลง เหลือเพียงร้อยละ 32 ในปี 2563 เนื่องจากคาดว่าจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก จะนำเข้ายางจากไทยลดลง เพราะหันไปสนับสนุนการปลูกยางพาราในประเทศที่มีแนวชายแดนติดต่อกับจีน ซึ่งไทยต้องมีสนับสนุนให้มีการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น ในปีนี้มีการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ มาประเทศไทย ทำให้คาดได้ว่าในอนาคตความต้องการใช้ยางพาราในประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 12 ของผลผลิต ทดแทนการส่งออกที่ลดลงได้ระดับหนึ่ง 
           
นายศุภชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์ยางพาราโลก คาดว่าราคายางพาราในอีก 10 ปีข้างหน้าจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมมติฐานว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่เกิดภาวะตกต่ำหรือถดถอย
 
รัฐมนตรีช่วยเกษตรซึ่งดูแลรับผิดชอบด้านยางพาราระบุว่า สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ กังวลคือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากราคายางที่สูงขึ้นในระยะยาว เนื่องจากเกรงว่าเกษตรกรจะขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น ทั้งจากการแผ้วถางป่า หรือปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชอื่นมาปลูกยางแทน รวมทั้งการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่ำ ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดมาตรการรองรับ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิที่ชัดเจน” .
- สำนักข่าวไทย

จับตาวิกฤติราคายางในทศวรรษหน้าเมื่อจีนใช้เพื่อนบ้านเป็นฐานปลูกเอง

กระดานสนทนาเกษตร - ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตรครบวงจร
จับตาวิกฤติราคายางในทศวรรษหน้าเมื่อจีนใช้เพื่อนบ้านเป็นฐานปลูกเอง

_____________________________________


ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา วงการประมูลซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากราคายางพาราพุ่งขึ้นกิโลกรัมละ 93.99
บาท สำหรับอย่างดิบ ส่วนยางแผ่นรมควันกิโลกรัมละ 99.62 บาท ขณะที่น้ำยางสดกิโลกรัมละ 94 บาท 

นายสมจิตต์ ศิขรินมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่
ระบุว่า จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อราคายางในระดับพื้นที่อย่างน้อยมี 3 ปัจจัยด้วยกัน
ปัจจัยแรก เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน ทำให้มีออเดอร์ยางเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่สองเกิดจากภาวะธรรมชาติที่มีความผันผวนมีผลมาจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ฝนตกหนัก ผลผลิตยางจึงมีน้อย และปัจจัยสุดท้าย มาจากจีนต้องซื้อยางพาราเพิ่ม
เพราะเป็นช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ซึ่งจีนจะหยุดงานยาว จึงต้องเร่งซื้อก่อนวันหยุด หากปล่อยไปพ้นตรุษจีนจะเข้าสู่หน้าแล้งยางจะเริ่มผลัดใบ ผลผลิตน้ำยางน้อยลง

ปัจจุบันประเทศไทยผลิตยางพารา เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 16.74 ล้านไร่ มีผลผลิตกว่า 3,000 ล้านตัน ล่าสุด นายศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาหัวข้อ "สวนยาง สร้างชุมชนภาคอีสานให้เข้มแข็งได้จริงหรือ"
ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จ.ขอนแก่น ว่า เดิมโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่นั้น จะเพิ่มเป็น 4 ล้านไร่ เพราะมีพื้นที่เหมาะสมที่ปลูก
โดยเฉพาะภาคอีสานมีถึง 9 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม หากมองปัจจัยที่ทำให้ราคายางพารา สูงในช่วงนี้ เกิดจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ

ความต้องการของตลาดจีนที่กำลังขยายอุตสาหกรมยานยนต์ และอีกปัจจัยหนึ่งเกิดความขาดแคลนผลผลิตยางพาราเนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติ และเป็นฤดูกาลยางพาราผลัดใบ
ทำให้เกษตรกรหยุดการกรีดยางชั่วคราว ฉะนั้นการที่ราคายางพาราสูงขึ้นในขณะนี้ น่าจะเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ถึงฤดูกาลที่เกษตรกรกรีดยางพร้อมกันอาจทำให้ราคาตกต่ำลง
ที่น่าเป็นห่วงยิ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้แนวโน้มราคายางพาราตกต่ำลงอย่างยาวนาน คือ การขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งในประเทศไทยเอง

และประเทศคู่ค้ารายสำคัญอย่างประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันจีนปลูกยางพารา ในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะที่แคว้นสิบสองปันนามีถึง 6.8 ล้านไร่ กรีดได้แล้วราว 4  ล้านไร่ และยังมีการสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ส.ป.ป.ลาว ที่ปลูกขนาบเส้นทางถนนสาย อาร์ 3บี ตั้งแต่เมืองห้วยทรายตรงกันข้ามกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ในรัศมี 10 กิโลเมตร ของสองฟากถนน จนถึงเมืองบ่อเตน จ.หลวงน้ำทา ติดชายแดนระยะทางกว่า 250 กิโลเมตร ประมาณการว่าลาวปลูกยางพาราถึงหลักล้านไร่ โดยจีนจะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมด

นายเพ้อเอิน แซ่ฉือ ผู้จัดการบริษัท หม่อนไหม ชิน เหมียน จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจแปรรูปยางพาราในรูปแบบยางแท่น ที่เมืองหล้า แคว้นสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวระว่างที่ นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นำคณะที่เป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยาง จ.จันทบุรี-ตราด กว่า 80 คน ไปศึกษาดูงานด้านการปลูกและการแปรรูปยางพารา ที่แคว้นสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ 10-14 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ว่า ปัจจุบันจีนปลูกยางพารา ทั้งหมด 6.8 ล้านไร่

อีกสวนหนึ่งเป็นปลูกใหม่ที่ยังไม่กรีด มีโรงงานทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน 11 แห่ง อย่างโรงงานของบริษัท หม่อนไหม ชิน เหมียน ถือเป็นของเอกชนรายใหญ่ มีกำลังผลิตยางแท่นวันละ 20 ตัน และกำลังขยายให้มีความสามารถผลิตได้วันละ 50ตัน "ตอนนี้จีนจะไม่ขยายการปลูกยางพาราอีก เพราะต้นยางพาราดูดน้ำในปริมาณที่มาก

ส่งผลให้น้ำใต้ดินลดลง และการปลูกยางพารา ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยด้วย หากเทียบกับป่าธรรมชาติ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงเป็นอย่างมาก แต่จีนจะสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว โดยจีนจะเป็นผู้รับซื้อ" นายเพ้อเอิน กล่าว นายเผิก กล่าวว่า การพาผู้นำเกษตรกรภาคตะวันออกมาศึกษาดูงานในครั้งนี้

เนื่องจากต้องการให้เกษตรกรเห็นถึงกระบวนการปลูกยางพาราและแปรรูปยางพาราของจีนว่าได้พัฒนาไปถึงไหน เพราะแม้วันนี้ไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก แต่อย่าลืมว่าปัจจุบันยังมีประเทศใกล้เคียงอย่างประเทศจีน ก็ปลูกยางพาราจำนวนมาก และอีก 5 ปีข้างหน้า
ทั้งจีน ส.ป.ป.ลาว จะมีโอกาสขายยางแผ่น ขี้ยาง เหมือนกับประเทศไทย ดังนั้นเกษตรกรไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนาระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น "เท่าที่ไปดูงานด้านการปลูกและแปรรูปยางพารา ของจีนดีกว่าของไทยในเรื่องการดูแลรักษาต้นยางค่อนข้างมีความเข้มงวด มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ที่จะกรีดยาง เช่น
เมื่อไรมีอากาศร้อนเกินไป อากาศหนาวเกินไป เกษตรกรชาวจีนจะหยุดกรีดยางทันที เมื่อมีโรคระบาดรัฐบาลจีนจะเข้ามาดูแลทันที แต่ถ้าในพื้นที่การปลูกไม่น่าห่วง เพราะจีนมีพื้นที่มีจำกัด แต่เรื่องผลผลิตต่างหากที่น่ากลัวมากกว่า จีนอาสาพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีมีผลผลิตสูง ขณะที่รัฐบาลของเราเน้นในเรื่องการปลูก โดยไม่มีอะไรรองรับว่า อีก 5 ปี หรือ 7 ปี ยางพาราที่ปลูกจะนำไปแปรรูปทำอะไรบ้าง เมื่อจีนกรีดยางได้หมด พร้อมลาวด้วย ในอนาคตราคายางพาราอาจมีปัญหาล้นตลาด

ยิ่งหากรายอื่นหรือประเทศที่ปลูกยางจับมือร่วมกันอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าไทยไม่ปรับตัวตั้งแต่วันนี้ อีก 5 ปีข้างหน้าผลผลิตยางที่กำลังออกมาในโลกกว่า 20 ประเทศ ก็จะสร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรไทยอย่างแน่นอน" นายเผิก กล่าว ด้าน นายนิพนธ์ เลาห์กิติกูล เหรัญญิกชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.จันทบุรี กล่าวว่า เท่าที่ฟังข้อมูลแล้ว

จีนไม่ใช่คู่แข่งในการปลูกยางของไทย เพราะมีพื้นที่จำกัด แต่จีนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ราคายางพาราของไทยตกต่ำ เพราะตลาดหลักของยางไทยนั้น จีนถือเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เมื่อจีนปลูกเอง และสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว และพม่า แน่นอนจีนจะซื้อยางพารา จากประเทศเหล่านี้ก่อน

ถึงเวลานั้นจะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกของไทยอย่างแน่นอน ส่วนการแปรรูปนั้น ตอนนี้ของไทยทันสมัยกว่า แต่อย่าลืมว่าจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีเร็วมาก และโรงงานบางแห่งที่เป็นของรัฐบาลอาจทันสมัยกว่าของไทยก็ได้ ดังนั้นหากประเมินแล้ว ในอีก 5 ปี หรืออีก 1 ทศวรรษข้างหน้า จีนถือเป็นประเทศที่น่ากลัวที่จะให้ราคายางพาราในตลาดโลกผันผวนได้ หากไทยไม่รีบปรับตัวแต่เนินๆ ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน 
ดลมนัส กาเจ
from: komchadluek.net
=======================================================================

การผลิตและการปลูกต้นยางชำถุง

          วัสดุปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกสร้างสวนยางมีอยู่หลายชนิด เช่น ต้นตอตายาง ต้นยางชำถุง และต้นกล้าติดตาในแปลง เป็นต้น
          แต่ละชนิดที่เกษตรกรนิยมใช้ปลูกสร้างสวนยางกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ ต้นยางชำถุง ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่ได้รับผลสำเร็จสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ การเจริญเติบโตของต้นยางหลังจากปลูกไม่หยุดชะงัก ได้ต้นยางที่เจริญเติบโตสม่ำเสมอ ช่วยลดช่วงระยะเวลาดูแลรักษาสวนยางอ่อนให้สั้นลง สามารถเปิดกรีดได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอยาง และต้นกล้าติดตาในแปลง นอกจากนี้ต้นยางชำถุงยังเหมาะสำหรับใช้เป็นต้นยางปลูกซ่อมได้ดีอีกด้วย

การผลิตต้นยางชำถุง

การผลิตต้นยางชำถุงโดยทั่วไปสามารถผลิตได้ 2 วิธีคือ
  1. การปลูกต้นกล้าเพื่อติดตาในถุง
  2. การปลูกด้วยต้นตอยาง
          สำหรับวิธีการปลูกต้นกล้าเพื่อติดตาในถุง โดยการปลูกต้นกล้าในถุงเมื่อต้นกล้าอายุ 6-8 เดือน หรือลำต้นของต้นกล้าที่บริเวณติดตามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยว่า 1.0 ชม. จึงทำการติดตา จากการศึกษาในประเทศมาเลเซียพบว่า การติดตาในถุงขนาด 8x20 นิ้ว ประสบผลสำเร็จร้อยละ 92-95 ส่วนในประเทศไทยนิยมติดตาในถุงเฉพาะในบางพื้นที่ที่มีปัญหาหน้าดินตื้น ไม่สามารถปลูกสร้างแปลงกล้ายางได้ โดยมักใช้ถุงขนาด 3 1/2 x 12 นิ้ว ซึ่งยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า การติดตาได้รับผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าการปลูกต้นกล้ายางในถุงเป็นระยะเวลานาน ๆ สภาพของต้นกล้ายางมีความสำบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เพราะเจริญเติบโตในถุงที่มีดินจำกัด ระบบรากของต้นยางบางส่วนจะม้วนเป็นก้อนบริเวณก้นถุง และบางส่วนจะแทงทะลุก้นถุงลงในดิน เมื่อขนย้ายไปปลูกจะทำให้ระบบรากขาด และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางติดตาในถุง นอกจากนี้ยังพบว่าถุงที่บรรจุดินมีสภาพฉีกขาดเสียหายเพราะแสงแดดเผา
          ส่วนการผลิตต้นยางชำถุงด้วยวิธีการปลูกต้นตอตายาง เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง โดยการนำต้นตอตายางมาปลูกในถุงที่บรรจุดินขนาด 4 1/2 x 14 นิ้ว ดูแลรักษานานประมาณ 50-60 วัน ก็จะได้ต้นยางชำถุงขนาด 1 ฉัตร พร้อมที่จะขนย้ายไปลูกในแปลง

1. การเลือกสถานที่สร้างแปลง

    • ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และมีน้ำเพียงพอตลอดปี
    • ควรเป็นพื้นที่ราบ มีการระบายน้ำดี
    • ควรตั้งอยู่ในแหล่งที่มีการปลูกสร้างสวนยาง
    • การคมนาคมสะดวก

2. การจัดเตรียมแปลง และโรงเรือน  >>>> อ่านต่อ Click

3. การจัดเตรียมวัสดุสำหรับการผลิต  >>>> อ่านต่อ Click

4. การใช้สารฮอร์โมนกับต้อตอยาง   >>>> อ่านต่อ Click

5. การปักชำต้นตอยาง   >>>> อ่านต่อ Click

6. การเก็บรักษาต้นตอตายาง   >>>> อ่านต่อ Click

7. การดูแลรักษาต้นยางชำถุง   >>>> อ่านต่อ Click

8. การขนย้ายต้นยางชำถุงไปปลูก   >>>> อ่านต่อ Click


การปลูกต้นยางชำถุง


อ่านรายละเอียด  >>>> อ่านต่อ Click

การจัดเตรียมวัสดุสำหรับการผลิต

  1. ถุงพลาสติก  ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำที่มีคุณภาพดี ซึ่งมีอายุใช้งานในสภาพกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ถ้าเลือกถุงราคาถูก และไม่มีคุณภาพจะทำให้ถุงฉีกขาดเร็ว ซึ่งจะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนถุง ขนาดของถุงที่เหมาะสมสำหรับผลิตต้นยาง 1-2 ฉัตร ควรมีขนาด 4 1/2 x 14 นิ้ว หรือ 11 x 35 เซนติเมตร มีความหนาประมาณ 0.05 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อบรรจุดินแล้วจะมีน้ำหนัก ประมาณ 2 กิโลกรม ถุงต้องมีรูระบายน้ำด้านข้างขนาด 3 มิลลิเมตร จำนวน 3 แถว ๆ ละ 5-6 รู โดยห่างจาก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว
  2. ดินบรรจุถุง  ควรเลือกเฉพาะหน้าดินที่เป็นดินร่วนเหนียวที่มีความสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี และมีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4-5-5 ถ้าเป็นดินเหนียวควรผสมด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่น ทราย แกลบ หรือขุยมะพร้าว อัตรา 2:1 (ดิน 2 ส่วน ต่อวัสดุปลูก 1 ส่วน) ในการเตรียมดินบรรจุถุงควรผสมปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) ประมาณ 10 กรัมต่อถุง  หรือประมาณ 5 กิโลกรัมต่อดิน 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถนำไปบรรจุถุงได้ประมาณ 500 ถุง ข้อควรระวังคือต้องใช้ดินร่วนปนเหนียวที่ไม่แตกออกจากกันเวลาขนย้ายต้นยางไปปลูกในแปลง  ถ้าดินแตกออกจากกันจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อระบบราก และอาจทำให้ต้นยางตายได้ สำหรับการบรรจุดินลงถุงควรอัดดินให้แน่นพอสมควร และควรบรรจุดินล่วงหน้าก่อนการปักชำต้นยางหลังจากบรรจุดินเสร็จแล้ว ควรรดน้ำพอประมาณเพื่อให้ดินยุบ หลังจานั้น 1-2 วันควรเติมดินให้อยู่ระดับต่ำกว่าปากถุงที่พับแล้ว 2-3 เซนติเมตร
  3. ต้ตตอตายาง  ต้องเป็นต้นตอตายางที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ได้ขนาดตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และตัดแต่งรากเรียบร้อยแล้ว ส่วนต้นที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นที่มีราคคดงอ รากแก้วขาดสั้นและมีหลายราก แผ่นตาเสียหายบางส่วน แผ่นตาติดไม่สนิทกับลำต้น ต้นที่มีขนาดเล็กและโตกว่ามาตรฐาน ต้นที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายจาการขุดถอน  และต้นที่มีโรค และแมลงรบกวน ต้นเหล่านี้ต้้องคัดทิ้งไปไม่ควรนำมาผลิตต้นยางชำถุง

ต้นตอตายางที่ได้มาตรฐาน ควรมีคุณสมบัติดังนี้

  1. รากแก้วสมบูรณ์ มีรากเดียว ลักษณะไม่คดงอ เปลือกหุ้มรากไม่เสียหาย
  2. ความยาวของรากวัดจากโคนคอดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
  3. ต้นตอตายางมีลำต้นสมบูรณ์ตรง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ตาระหว่าง 0.9-2.5 เซนติเมตร
  4. ความยาวของลำต้นจากโคนคอดินถึงตาไม่เกิน 10 เซนติเมตร และจากตาถึงรอยตัดลำต้นจะต้องไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร
  5. แผ่นตาเขียวมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 0.9 เซนตเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สภาพแผ่นตาสมบูรณ์แนบติดสนิทกับต้นตอ ไม่เป็นสีเหลือง หรือรอยแห้งเสียหาย ตำแหน่งของตาต้องไม่กลับหัว และควรเลือกใช้ตาก้านใบ
  6. แผ่นตาที่นำมาติดได้จากแปลงกิ่งตายางที่ได้รับการรับรองจจากกรมวิชาการเกษตร
  7. ต้นตอตายางต้องอยู่ในสภาพสดสมบูรณ์ ปราศจากโรคและศัตรูพืช

อุปกรณ์สวนยางพารา

อุปกรณ์ยางพารา

มีดกรีดยาง ตรา สามห่วง มี 3 รุ่น
เบอร์ 1 สีส้ม ราคา/โหล 1224 บาท
เบอร์ 2 สีส้ม ราคา/โหล 924 บาท
ด้ามใหญ่สีเหลือง ราคา/โหล 1020 บาท





มีกรีดยาง ตรา 999
มีขนาดเดียว เบอร์ 1 ราคา/โหล 1020 บาท



ถังน้ำสำหรับเก็บน้ำยาง
เบอร์ 1 ราคา/ใบ 126 บาท
เบอร์2 ราคา/ใบ 114 บาท
เบอร์3 ราคา/ใบ 102 บาท
เบอร์4 ราคา/ใบ 96 บาท




ลวดรัดต้นยาง
แบบซิกแซก มัดละ 100 เส้น
เบอร์14 ราคา/เส้น 2.52 บาท
เบอร์13 ราคา/เส้น 3.24 บาท


ลวดวงกลม/สปริง ขนาด 4 นิ้ว 
สปริง 2 นิ้ว ราคา/เส้น 2.82 บาท
สปริง 2.5 นิ้ว ราคา/เส้น 3.12 บาท


ไม้กวาดน้ำยาง ของแท้จากยะลา ทำมาจากยางรถยนต์ แท้ 100%
ไม้กวาดน้ำยาง ราคา/โหล 204 บาท


ถ้วยรับน้ำยาง (ขนาด 16,18,20
ขนาด 16 ออน ราคา/ใบ 2.64 บาท บรรจุกระสอบ 200 ใบ
ขนาด 18 ออน ราคา/ใบ 3 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ
ขนาด 20 ออน ราคา/ใบ 3.6 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ



ช้อนยาง
ขนาดมาตรฐาน 3 นิ้ว เกรด A
ขายเป็นกิโล กิโล/บาท 52.8 บาท
ขายเป็นกระสอบ ๆ 30 กก. กิโล/บาท 45.6 บาท
ช้อนยางมัด
ช้อนยางมัด 2.5 นิ้ว ราคา/ห่อ 174 บาท (ลังละ 25 มัด)
ช้อนยางมัด 3 นิ้ว ราคา/ห่อ 300 บาท (ลังละ 25 มัด)




สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อ  

โทร  083-2959695

การปลูกต้นยางชำถุง

  1. การเตรียมพื้นที่ปลูก  หลังจากโค่นต้นยางเก่า และนำไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ออกจากแปลงหมดแล้ว จำเป็นต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกดังนี้
    • ไถพลิกดิน 2 ครั้ง เก็บเศษไม้ และซากไม้ที่ยังเหลืออยู่นำมารวมกองเป็นจุด ๆ ในแปลงแล้วเผาปรน
    • ไถพรวน 1 ครั้ง เพื่อย่อยดินให้ร่วนซุย
    • ปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนดไว้
  2. การปลูกหลุมปลูกยาง
    • ขุดหลุมปลูกขนาดกว่้าง x ยาว x ลึก เท่ากับ 50x50x50 เซนติเมตร
    • แยกดินบน และดินล่างออกจากกัน ตากแดดไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อดินแห้งแล้วย่อยดินบนให้ร่วนแล้วกลบลงหลุมครึ่งหนึ่งของหลุม สำหรับดินล่างเมื่อย่อยแล้วผสมปุ๋ยหินฟอสเฟต 25% สูตร 0-3-0 อัตรา 170 กรัม/หลุม
  3. หลักในการเลือกต้นยางชำถุงปลูก  ต้นยางชำถุงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง และมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการปลูก และการเพิ่มศักยภาพการจัดการสวนยาง ดังนั้นการเลือกต้นยางชำถุงปลูกต้องพิจารณาตามหลักการดังนี้
    1. ต้นยางชำถุงมีลักษณะถูกต้องตามพันธุ์ และมีคุณภาพดี
    2. พิจารณาพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้ดีตามสภาพแวดล้อมและต้านทานโรคต่าง ๆ ดี
    3. ต้นยางชำถุงที่ได้มาตรฐาน ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
      • เป็นต้นติดตาที่สมบูรณ์ เจริญเติบโตอยู่ในถุงพลาสติก ฉัตรมีขนาดตั้งแต่ 1 ฉัตร แก่ขึ้นไป โดยฉัตรยอดมีใบแก่เต็มที่ เมื่อวัดจากรอยแตกตาถึงปลายยอดมีความยาวไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
      • ถุงพลาสติก ที่ใช้เพาะชำขนาดประมาณ 4 1/2 x 14 นิ้ว เป็นอย่างน้อย และเจาะรูระบายน้ำออก
      • ดินที่ใช้บรรจุถุง จะต้องมีลักษณะค่อนข้างเหนียว เมื่อย้ายถุงดินไม่แตกง่าย มีดินบรรจุถุงสูงไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว
      • ต้นตอตาที่นำมาชำถุง ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่สถาบันวิจัยยางกำหนด
      • ต้นยางชำถุงต้องปราศจากโรค และศัตรูพืช และไม่มีวัชพืชขึ้นในถุง
  4. ขั้นตอนการปลูกต้นยางชำถุง
    1. ใช้มีดคม ๆ กรีดก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว ถ้ามีรากม้วนเป็นก้อนบริเวณก้นถุงให้ตัดรากที่ม้วนออก
    2. วางต้นยางชำถุงในหลุม แล้วกรีดถุงจากก้นถึงปากถุง ทั้งสองด้าน ให้ขาดออกจากกัน กลบดินลงหลุมจนเกือบเต็ม
    3. ดึงถุงพลาสติกออกในขณะที่ดึงต้องระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก
    4. หลังจากดึงถุงออกแล้ว เอาดินกลบจนเสมอปากหลุม และพูนดินบริเวณโคนต้นให้สูงเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขังในหลุมปลูก
  1. ข้อควรคำนึง
    1. ควรปลูกต้นยางชำถุงในช่วงต้นฤดูฝน และมีปริมาณฝนตกอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ
    2. ในการขนย้ายต้นยางชำถุงไปปลูก อย่าให้ดินในถุงแตก เพราะจำทำให้ต้นยางตาย
    3. ในการปลูกต้นยางชำถุง ต้องระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก เพราะจะทำให้ระบบราก กระทบกระเทือน และการปลูกต้องอัดดินบริเวณห่างจากโคนต้นเล็กน้อยให้แน่น
    4. ถุงขนาด 4 1/2 x 14 นิ้ว เหมาะสำหรับการเลี้ยงต้นยางชำถุงไม่เกิน 2 ฉัตร
    5. ต้นยางชำถุงที่ย้ายปลูก ต้องมีฉัตรใบที่แก่ โดยสังเกตจากยอดของฉัตรเริ่มผลิยอดอ่อนปุ่มขึ้นมา

การเก็บรักษาต้นตอตายาง

          ตามปกติต้นตอตายางที่ขุดถอนขึ้นมาแล้ว ควรนำไปปลูกให้เสร็จโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ความงอกสูญเสียไป Keaopbamrang (1977) ได้รายงานผลการนำต้นตอตายางจากแปลงขยายพันธุ์ยางไปปลูกยังแปลงปลูกมีระยะสูงสุดเพียง 5 วัน ถ้าช้าไปกว่านี้ ต้นตอตายางจะตายถึง 20-30% แต่ในบางครั้งมีความจำเป็นไม่สามารถปลูกได้ทันที เนื่องจากต้องขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งปลูกเป็นระยะไกล ๆ หรือบางครั้งต้องชะลอการปลูกเอาไว้ ดังนั้นการปฏิบัติต่อต้นตาตายางโดยใช้วิธีการเก็บรักษาเพื่อยืดอายุของต้นตาตายางให้มีความงอกอยู่ได้นานมากที่สุด สถาบันวิจัยยางมาเลเซีย (1982) ได้แนะนำวิธีการบรรจุต้นตอตายางในห่อพลาสติกสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 20-25 วัน จะช่วยลดปัญหาต้นตอตายางแห้งตายและเสียหายในระหว่างการขนส่งได้เป็นอย่างดี Premakumari et. Al. (1974) ได้รายงานว่าระดับความชื้นในการเก็บรักษาเป็นปัจจัยในการคงความงอกของต้นตอตายาง

       

          จรินทร์ และคณะ (2521) ได้ทดลองนำต้นตอตาเขียวพันธุ์ GT1 RRIM600 PB5/51 บรรจุลังซึ่งรองด้วยฟางข้าว ใช้เวลาในการขุดถอนและขนย้ายเป็นเวลา 3 วัน แล้วทยอยปลูกทุกวันช่วง 14 วัน ต้นตอตาเขียวที่รอการปลูกจะเก็บไว้ในที่ร่ม โดยปิดฝาลังเอาไว้และรดน้ำวันละครั้ง ผลปรากฏว่าต้นตอตาเขียวที่ปลูกวันที่ 8 ของการเก็บ จะให้ผลสำเร็จในการปลูกมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการเก็บรักษาต้นตอตายางที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกที่สุด โดยการนำต้นตอตายางวางเรืองบนฟางข้าวแล้วใช้ฟางคลุมปิดอีกครั้ง รดน้ำให้ชุ่มเพื่อรักษาความชื้น วิธีการนี้เรียกว่าบ่มต้นตอตายาง ซึ่งการบ่มต้นตอตายางไม่ควรบ่นนานเกิน 10 วัน เพราะต้นตอตายางที่เก็บรักษาไว้อาจเน่าเสียได้ สำหรับในบางท้องที่ที่ไม่สามารถหาฟางข้าวมาคลุมต้นตอตายางได้ อาจใช้กระสอบป่านแทนก็ได้

การขนย้ายต้นยางชำถุงไปปลูก

          เมื่อต้นยางชำถุงเจริญเติบโตได้ 1-2 ฉัตร มีใบแก่เต็มที่ โดยสังเกตจากยอดของฉัตรเริ่มผลิยอดอ่อนเป็นปุ๋มขึ้นมา จนขนย้ายไปปลูกในแปลงได้ กรณีขนย้ายต้นยางชำถุงไปปลูกขณะที่ฉัตรยังมีใบอ่อน หรือเป็นเพสลาด จะทำให้ต้นเหี่ยวเฉาโดยเร็วและอาจตายในที่สุด และในขณะขนย้ายต้องระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก เพราะหากดินในถุงแตกจะมีผลทำให้ต้นยางชำถุงมีอัตราการตายสูง

การดูแลรักษาต้นยางชำถุง

  1. การรดน้ำ  ควรให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางชำถุง อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป ถ้ามากเกินไปอาจทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ และบางครั้งอาจทำให้โรคบางชนิดระบาดในแปลงได้ง่าย แต่ถ้าน้อยเกินไปจะทำให้ดินในถุงแห้ง ซึ่งจะส่งผลต่อตาที่กำลังผลิออกมา ชะงักการเจริญเติบโต และตายได้ ดังนั้นจึงควรให้น้ำทุกวันในเช่วงเช้าและเย็น
  2. การใส่ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยเม็ดสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิม และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ อัตรา 5 กรัม ต่อถุง ใส่หลังจากตาผลิออกมาแล้ว 2-3 สัปดาห์ และใส่ครั้งต่อไปทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ การใส่ปุ๋ยควรระมัดระวังเพราะปุ๋ยถูกใบอ่อนของต้นยางจะทำให้ใบเกิดรอยไหม้
  3. การกำจัดวัชพืช  วัชพืชที่งอกในถุงที่ปักชำต้นยางอยู่นั้น จะเป็นตัวการแย่งน้ำและอาหาร ทำให้ต้นยางชำถุงเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงควรควบคุมและกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้แรงงานถอนขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะถอนได้ง่าย และกระทบกระเทือนต่อระบบรากน้อย
  4. การตัดกิ่งแขนง  หลังจากปักชำต้นตอตายางในถุงแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเริ่มมีกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากตาของต้นเดิม กิ่งแขนงเหล่านี้จำเป็นต้องตัดทิ้งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพราะหากปล่อยเอาไว้จะมีผลทำให้ตาที่ติดเอาไว้ไม่แตก หรือมีผลต่อตาที่แตกแล้ว ทำให้ต้นเคระแกรนไม่เจริญเติบโต
  5. การคัดต้นยางชำถุงทิ้ง  ในการผลิตต้นยางชำถุง มักจะพบต้นที่มีลักษณะผิดปกติอยู่เสมอ ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องมาจากนำต้นตอตายางที่มีคุณภาพต่ำมาปักชำ การจัดการการผลิตไม่ได้มาตรฐาน และต้นยางชำถุงได้รับความเสียหายรุนแรงจากโรค ถ้าต้นยางชำถุงมีลักษณะผิดปกติให้คัดทิ้งทัน ไม่แนะนำไปปลูก มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
  6. การป้องกันกำจัดโรค  โรคที่ระบาดและทำความเสียหายให้กับต้นยางชำถุงเกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น โรคราแป้ง โรคใบจุดตานก โรคใบจุดนูน และโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ซึ่งโรคแต่ละชนิดจะแพร่ระบาดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป

การปักชำต้นตอตายาง

การปักชำต้นตอตายาง มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
  1. รดน้ำให้ดินในถุงชุ่มชื้นจนอ่อนตัวมากที่สุด แต่ถ้าต้นตอตายางที่จะปักชำมีจำนวนน้อยก็อาจจะนำถุงที่บรรจุดินแล้วมาแช่น้ำก่อนปักชำต้นตอตายางก็ได้
  2. ใช้ไม้ปลายแปลมหรือวัสดุอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีปลายแหลม และมีขนาดเล็กกว่าต้นตอตายาง แทงดินในถุงให้เป็นหลุมลึกน้อยกว่าความยาวของรากต้นตอตายางที่ตัดไว้
  3. นำต้นตอตายางที่เตรียมไว้แล้วมาปักชำในถุง โดยให้รากแก้วจมลงไปจนถึงรอยต่อคอดินระหว่างรากกับลำต้น
  4. อัดดินบริเวณรอบโคนต้นของต้นตอตายางที่ปักชำให้แน่น ให้ตำแหน่งของแผ่นตาอยู่เหนือผิวดินประมาณ 2 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง แล้วนำต้นตอตายางที่ปักชำไปว่างเรืองในโรงเรือนที่มีการพรางแสงต่อไป

การใช้สารออร์โมนกับต้นตอตายาง

          การใช้สารฮอร์โมนหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth regulators) ในกลุ่มออกซิน (Auxins) กับต้นตอตายาง โดยทาบริเวณรากแก้ว จะช่วยกระตุ้นให้เกิดจุดกำเนิดรากและการพัฒนาของรากแขนงได้เร็วและมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวน ปริมาณ และความยาวของรากแขนงมากขึ้นกว่าการไม่ใช้สาร (Pakianathan et. Al.,1978) จากการศึกษาการใช้สารออกซินเร่งรากแขนงของ Hafsah และ Pakianathan (1979) ได้พบว่าการใช้ Indolebutyric acid (IBA) 2,000 ppm. ในรูปดินขาวผม Captan-50 (5%) และโปแตสเซียมไนเตรท (1% KN03) มีประสิทธิภาพในการเร่งรากแขนงข้างมากที่สุด วิสุทธิ์ (2526) ได้รายงานว่าการใช้ IBA 3,000 ppm. ในรูปผงดินขาวผสมน้ำ 2.5 เท่า จุ่มรากต้นตอตายางก่อนปลูก ทำให้ต้นตอตายางเจริญเติบโตสม่ำเสมอดีกว่า ทำให้ต้นยางทนต่อสภาวะอากาศแล้วได้ดีกว่าปกติ สามารถลดอัตราการตายของต้นยางลงได้มากกว่า 50% ส่วนค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นต้นละ 30 สตางค์ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร IBA ที่เตรียมไว้ในรูปผงผสมดินขาวสามารถเก็บไว้ในที่มืด ในสภาพอุณหภูมิปกติได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่เสื่อมคุณภาพ
          Hafsah (1982) รายงานผลการทดสอบสารเร่งการแตกตาของต้นตาตายางพันธุ์ RRIM600 ผลการแตกตาหลังจากใช้สารแล้ว 2 เดือน ปรากฏว่าเบนซิลอดินิน (BA) 2,000 ppm. สามารถกระตุ้นการแตกตาได้ดีกว่าการใช้สาร GA, kinetin, ethylene และต้นที่ไม่ใช้สาร
          สาร IBA มีคุณสมบัติเป็น auxin ซึ่งมีผลต่อการเกิดและพัฒนาของรากแขนง ส่วนสาร BA ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่ม Cytokinin มีคุณสมบัติแก้การฟักตัวของตาข้าง กระตุ้นให้มีการแบ่ง cell อิทธิพลของสารทั้งสองในการเลี้ยงเนื้อยเยี่อของพืชชนิดต่าง ๆ หลายชนิดพบว่าสารทั้งสองกลุ่มนี้มักกะมีปฏิกริยาสัมพันธุ์กัน คือถ้าในอาหารที่เลี้ยงมี auxins สูง จะทำให้เนื้อเยื่อเกิดรากมาก แต่ถ้าในอาหารมี Cytokinins สูง เนื้อเยื่อจะมีการเจริญเติบโตทางด้านตามาก แต่จะเกิดรากน้อย (Bidwell. 1979) และจากการศึกษาอิทธิพลของสารทั้งสองชนิดกับต้นตอตายางของชัยโรจน์ (2528) พบว่าสาร Ba ได้แสดงผลต่อการเร่งการแตกตาตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์  ส่วนสาร IBA เริ่มแสดงอิทธิพลเมื่ออายุ 3 สัปดาห์ การใช้สาร IBA ความเข้มข้น 3,000 ppm. ให้ผลสูงสุดในการเร่งการแตกตาและการเจริญเติบโตของต้นตอตายาง แต่ไม่แตกต่างกับการใช้ IBA 2,000 ppm. การใช้ IBA ร่วมกับ BA จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตและการแตกตาได้ดีขึ้น สาร BA ควรใช้ความเข้มข้น 2,000 ppm. ในรูปของแป้งเปือกได้ผลดีกว่าการใช้ในรูปสารละลาย
1. การเตรียมและการใช้ฮอร์โมนเร่งราก  กรณีต้องการ IBA ความเข้มข้น 3,000 ppm. สามารถเตรียมได้ดังนี้
  • ชั่งสาร IBA บริสุทธิ์จำนวน 3 กรัม ด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียด ใส่ในถ้วยแก้วขนาด 50 มล. รินแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 20 มล. ลงในถ้วยแก้ว ใช้แท่งแก้วขนาดเล็กคนจนละลายหมดแล้วเทลงผสมในแอลกอฮอร์ 50% จำนวน 480 มล. รวมเป็น 500 มล.
  • ชั่งดินขาว 1 กิโลกรัม KNO3 10 กรัม และ Captan-50 50 กรัม แล้วนำ IBA ที่ละลายในแอลกอฮอร์ 500 มล. ผสมน้ำ 2 ลิตร คนให้อยู่ในสภาพแขวนลอย
  • นำต้นตอตายางที่ตัดแต่งรากแขนง และรากฝอยออกจนหมดแล้ว มาจุ่มในสารละลาย IBA ที่เตรียมไว้ให้ทั่วรากแก้ว แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มให้สารละลายแห้ง จึงนำไปปักชำในถุง
2. การเตรียมและการใช้ฮอร์โมนเร่งการแตกตา กรณีต้องการ BA ความเข้มข้น 2,000 ppm. สามารถเตรียมได้ดังนี้
  • ชั่งสาร BA บริสุทธิ์จำนวน 2 กรัม ด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียด ใส่ในถ้วยแก้วขนาด 50 มล. รินแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 20 มล. ลงในถ้วยแก้ว ใช้แท่งแก้วขนาดเล็กคนจนละลายหมดแล้ว
  • ชั่งลาโนลิน จำนวน 500 กรัม แล้วทำให้เหลวโดยอาศัยความร้อน จากนั้นจึงน้ำ BA ที่ละลายในแอลกอฮอล์มาเทงในลาโนลินที่ละลายแล้ว คนให้เข้ากันแล้วตั้งไว้ให้เย็น ลาโนลินจะคืนสภาพเป็นครีมเหนียว ๆ
  • ใช้พู่กันจุ่มสาร BA ในรูปครีมเหนียว ไปป้ายบริเวณตาของต้นตอตายางที่ต้องการให้แตกออกมา

การจัดเตรียมแปลง และโรงเรือน

  1. การเตรียมพื้นที่  ปรับพื้นที่ของแปลงเพาะให้เรียบสม่ำเสมอ หรือลาดเอียงเล็กน้อย และควรขุดคูรอบ ๆ แปลงเพาะเพื่อเป็นทางระบายน้ำ
  2. การพรางแสง  ในระยะแรกของการปักชำ ขณะที่ต้นยางชำถุงยังไม่มีรากใหม่ และตายังไม่แตกออกมา จะต้องทำการพรางแสงเพื่อลดความเข้มของแสงลง ให้ปริมาณแสงผ่านลงไปในโรงเรือนเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยใช้ตาข่ายพรางแสงชนิดความเข้มของแสง 60% ติดตั้งบนโรงเรือนให้สูงกว่าระดับดินประมาณ 2-2.50 เมตร เมื่อต้นยางได้ขนาดที่จะนำไปลูกควรลดการพรางแสงลง และให้ต้นยางชำถุงอยู่ในสภาพโล่งแจ้งสักระยะหนึ่ง ไม่ควรนำออกจากโรงเรือนปลูกทันที เพราะต้นยางชำถุงยังปรับตัวไม่ทัน อาจทำให้เกิดอาการใบไหม้ และตายได้
  3. การวางแถวต้นยางชำถุง  การวางแถวต้นยางชำถุงอาจวางได้ 2 ลักษณะ คือ การวางบนพื้นดินและการวางไว้ในร่องดินที่ขุด ในแหล่งที่มีฝนตกชุกควรวางไว้บนพื้นดิน เพราะถ้ามีน้ำท่วมขังในร่องดินอาจทำให้ต้นยางชำถุงเสียหายได้ ส่วนในแหล่งอื่น ๆ อาจจะเลือกวางต้นยางชำถุงบนพื้นดิน หรือวางในร่องดินก็ได้แล้วแต่จะเหมาะสม กรณีวางไว้บนพื้นดินควรใช้ไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งทำเป็นกรอบกั้นเอาไว้ ระดับของกรอบไม้ควรให้อยู่ประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวถุง แต่กรณีวางในร่องดินควรขุดดินให้เป็นร่องลึกลงไป 1 ใน 3 ของความยาวถุง ความกว้างของแถวควรใช้ต้นยางชำถุงจำนวน 2-3 ถุง ไม่ควรวางมากกว่านี้เพราะจะทำให้ต้นยางแน่นมาก และไม่สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การรดน้ำ การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูยาง ความยาวของแถวไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสะดวกในการปฏิบัติงานและรูปร่างของพื้นที่แปลง ระยะระหว่างแถว หรือบล็อกกว้างประมาณ 75 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นทางเดิน สำหรับทิศทางของการวางแถวควรวางแถวแต่ละแถวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อประโยชน์ในการพรางแสง
IMG_0521

รับเขียนเว็บบล็อกยางพารา

รับเขียน เว็บบล็อก ยางพารา เพียง 1,000 บาท เท่านั้น 

ฟรี อัฟข้อมูลเดือนแรก

สำหรับเจ้าของแปลงกล้ายาง ที่ยังไม่มีเว็บไซด์เป็นของตัวเอง โอกาสมาถึงแล้ว  เพื่อเพิ่มความเชื่่อมั่นให้กับลูกค้า ได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน  ไม่ว่าจะเป็นตัวตน ที่ตั้งแปลง ภาพถ่าย และรายละเอียดอื่น ๆ


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

083-2959695 (24 ชม.)

การเสริมการได้ในสวนยาง

การเสริมรายได้สามารถดำเนินการได้โดยปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ระหว่างแถวยางตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนโค่นยาง โดยพิจารณา จาก
  1. ตลาด
  2. แรงงาน
  3. เงินทุน
  4. ขนาดของพื้นที่สวนยาง
  5. สภาพแวดล้อม และ
  6. ลักษณะนิสัยของเกษตรกร

การเสริมรายได้ในสวนยางมีหลายประเภท

- การปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงยางอายุไม่เกิน 3 ปี

  • พืชล้มลุก เช่นสับปะรด ข้าวไร่ ข้าวโพดหวาน กล้วย หญ้ารูซี่โคไร เป็นต้น ควรปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร
  • กล้วยและมะละกอ แนะนำให้ปลูก 1-2 แถว และห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร
  • ใส่ปุ๋ยบำรุงตามชนิดพืชที่ปลูก
  • ควรปลูกพืชล้มลุกในระบบหมุนเวียน
  • พืชที่ไม่แนะนำ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ละหุ่ง ยกเว้นในที่พื่นที่ที่ต้องการปลูก ให้ปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

- การปลูกพืชเสริมรายได้ที่ทนต่อสภาพร่มเงาสวนยาง

  • พืชล้มลุกที่แนะนำได้แก่ ไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย ไม้วงศ์ขิง ขิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน ควรปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 1.5 เมตร
  • ผักเหลียง หรือผักเหมี่ยง แนะนำให้ปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร
  • พืชสกุลระกำ เช่น ระกำ สะกำ สละเนินวง สละหม้อ และหวายตะค้าทอง แนะนำให้ปลูกกึ่งกลางแถวยาง ระยะระหว่างต้น ประมาณ 5-6 เมตร
  • กระวาน แนะนำให้ปลูก 1-2 แถว ระยะระหว่างต้น ประมาณ 3 เมตร
  • ไม้ป่าที่แนะนำให้ปลูก ได้แก่ สะเดาเทียม ทัง พะยอมสะเดา ยมหอม เคี่ยม มะฮอกกานี ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน ทุเรียนป่า แดง ประดู่ ควรปลูกกึ่งกลางระหว่างแถวยาง ระหว่างต้น ประมาณ 8 เมตร หรือปลูกในหลุมว่างในสวนยางในช่วงอายุ 1-3 ปี

- การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง

  • สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ แกะ โค สัตว์ปีก และผึ้ง
  • ควรปล่อยแกะและโคเข้าไปในสวนยางเมื่ออายุ 1  ปี และ 3 ปี ขึ้นไป ตามลำดับ


***ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

วิธีปลูกยางที่ถูกต้อง

วิธีปลูกยางที่ถูกต้อง

  1. ขุดหลุม 50 x 50
  2. ใช้มีดคมปาดก้นถุงให้ขาด
  3. ฝ่าตรงกลางถุง
  4. เอาถุงลงหลุม พอประมาณ (อย่าเพิ่งเอาถุงออก)หันหน้าตายางไปทางทิศตะวันตก หรือ เหนือใต้ (ดูทิศทางลมตามสภาพพื้นที่) แต่อย่าหันหน้าตายางไปทางทิศตะวันออก เพราะแสงแดด อาจจะเผาหน้ายางได้
  5. เอาดินกลบหลุม เกือบจะถึงปากถุง กดดินลงเล็กน้อย
  6. ค่อย ดึงถุงขึ้นมา  อย่าให้ดินในถุงแตกเด็ดขาด เพราะทำให้ระบบรากขาด
  7. กลบดิน
ดูวีดีโอประกอบ


การดูแลสวนยาง ก่อนให้ผลผลิต

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต

           เกษตรกรต้องใช้เวลาในการบำรุง ดูแล รักษาสวนยางพารานับจากวันแรกที่เราปลูกเสร็จจนถึงวันที่เราจะเปิดกรีดได้ ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 6 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานพอสมควร ช่วงนี้ มีแต่รายจ่าย แต่ก็สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่ในสวนยางได้เช่นกันด้วยการปลูกพืชแซมที่ตลาดต้องการ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่เราต้องจัดการให้ดีที่สุด จึงขอกล่าวเรื่องการจัดการในแต่ละปี จนถึงปีที่จะทำการเปิดกรีดต้นยางได้  เกษตรกรควรรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างก่อนตัดสินใจปลูกยางพารา
- ระยะ1 ปีแรกเมื่อเริ่มปลูกยางพารา  
 
          การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1 ปีแรกหลังจากปลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรกก็คือการจัดการทุกอย่างเพื่อให้ต้นยางพาราอยู่รอด หรือให้ตายน้อยที่สุด และควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ย, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 1 ปีเต็ม ต้นที่สมบูรณ์ก็จะมีขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร


  1. หลังจากปลูกแล้ว หากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงนาน ก็ควรให้น้ำบ้างเท่าที่สามารถจะให้ได้
  2. เมือฝนมาครั้งแรก ต้องสำรวจดูว่า ดินในหลุมใดยุบบ้าง ให้กลบดินเพิ่ม หากไม่กลบเมื่อฝนมาครั้งที่สอง ก็จะทำให้น้ำขังบริเวณโคนต้นซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้
  3. หลังจากฝนครั้งแรกมาแล้ว ทิ้งช่วงนาน ฝนครั้งที่สองก็ยังไม่มาไม่มา ชาวสวนยางพาราก็ต้องมาสำรวจดูว่ามีหลุมใดบ้างที่ดินรอบ ๆ ต้นยางแตกหรือแยกเป็นวง ๆ ก็ให้กลบดินเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากหลุม ซึ่งก็อาจทำให้ต้นยางพาราเฉาหรือตายได้เช่นกัน
  4. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  5. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  6. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดี
  7. หากต้องการปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  8. กรณีปลูกด้วยยางชำถุง เมื่อต้นยางอายุครบ 1, 4 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรอื่น เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา
  9. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ซึ่งปลูกยางชำถุงอย่างเดียว เมื่อต้นยางอายุครบ 1 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-10-12 ตามอัตรา โดยไม่แยกชนิดของดิน และในปีแรกนี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี (อาจใส่เมื่อต้นยางอายุครบ 6 เดือน)
  10. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดินกลบ หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี หรืออาจใช้เหล็กหุนแทงลงไปในดินให้ลึกพอเหมาะ จำนวน 4 หลุม หยอดปุ๋ยลงไปแล้วกลบก็ได้เช่นกัน
  11. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  12. เมื่อต้นยางพาราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการแตกกิ่งด้านข้างลำต้น ให้ใช้มีดหรือคัดเตอร์ค่อย ๆ ตัดออก ระวังอย่าให้โดนก้านใบ
  13. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ


- เมื่อยางพารา อายุได้ 1 - 2 ปี 

โรครากน้ำตาล

โรคราคน้ำตาล

เกิดจากเชื้อรา phellinus noxius (corner) G.H. Cunn พบการระบาดในช่วงฤดูฝน แพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม

ลักษณะอาการ
  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก จะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยเหมือนกำมะหยี่ ปกคลุมผิวราก และเกาะยึดดินทรายไว้ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นแผ่นสีน้ำตาลดำ
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด ต่อมาจะปรากฎเส้นสีน้ำตาลเป็นส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ รากที่เป็นโรคมานาน เมื่อตัดตามขวางจะเห็นลายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นหนาและแข็ง ลักษณะครึ่งวงกลม ขนาดค่อนข้างเล็ก ผิวด้านบนมีรอยย่น เป็นวงสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านล่างมีสีเทา
คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. แปลงยางที่เคยเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้นและรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค ป้องกันการสัมผัสกันของราก ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ขุดินรอบโคนต้นเป็นร่องแล้วใช้ Tridemorph ราดโคนต้นทุก 6 เดือน
อย่างไรก็ตามในการป้องกันและควบคุมโรครากยางพาราให้ได้ผลสำเร็จจะต้องมีมาตรการในการจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกไปจนถึงหลังปลูก หรือระยะที่ต้นยางให้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 5-6 ปี ดังนี้
  1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางควรทำลายตอไม้ ท่อนไม้เก่าออกให้หมด ไถพลิกหน้าดินตากแดดเพื่อกำจัดเชื้อราที่เจริญอยู่ในดิน และในเศษไม้เล็ก ๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดิน
  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปล่อยพื้นที่ว่างใว้ประมาณ 1-2 ปี หรือปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุโรคราก
  3. แปลงยางที่มีประวัติการเป็นโรครากมาก่อน แนะนำให้ใช้กำมะถันผงผสมดินในหลุมปลูก 240 กรัมต่อหลุม เพื่อปรับสภาพ pH ดิน ให้เป็นกรด เหมาะต่อการเจริญของแอนทาโกนิสต์ บางจำพวก ซึ่งเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากขาว และป้องกันการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรครากเข้าทำลายรากยาง
  4. หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรตรวจดูพุ่มใบเพื่อค้นหาต้นยางที่เป็นโรคราก ควรตรวจซ้ำเป็นระยะ ซึ่งความถี่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ถ้ามีต้นเป็นดรครากไม่สูงมากนัก อาจตรวจซ้ำทุก 3 เดือน เมื่อพบต้นยางเป็นโรครุนแรงไม่อาจรักษาได้ ควรขุดต้นเผาทำลายเสีย และรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี ส่วนบริเวณไม่เป็นโรค ควรทำการตรวจปีละ 1-2 ครั้ง การขุดดูที่ราก แนะนำให้ปฏิบัติเมื่อพบว่าพุ่มใบมีอาการผิดปกติแล้วเท่านั้น  ต้นยางอายุน้อยที่เป็นโรครากนั้น การาป้องกันกำจัดมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการระบาดของโรค ดังนั้น เมื่อพบต้นเป็นโรครากจึงควรขุดทำลายเสียให้หมด
  5. ต้นยางที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (ขนาดคูกว้าง 30 เซนติเมตร) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นโดยการสัมผัสกันของราก
  6. ไม่ควรปลูกพืชซ่อม หรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก
  7. ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นข้างเคียงเพื่อป้องกันโรค

โรครากแดง

โรครากแดง 

เกิดจากเชื้อรา Ganoderma pseudoferreum (Wakef) Over & Steinm พบการระบาดในช่วงฤดูฝน แพร่ะกระจายได้โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม

ลักษณะอาการ

  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก ส่วนรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดงซึ่งส่วนปลายของเส้นใยที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาครีม ลักษณะเส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาว เห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างด้วยน้ำ
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค มีลักษณะขรุขระ เนื่องจากมีก้อนดินและหินเกาะติดอยู่ เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคจะเป็นสีน้ำตาลซีดและกลายเป็นสีเนื้อในระยะต่อมา วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจากกันได้ง่าย
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้นหรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นแข็ง ด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างมีสีขี้เถ้า ขอบดอกมีสีขาวครีม

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. แปลงยางที่เป็นเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้นและรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค ป้องการการสัมผัสกันของราก ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ขุดดินรอบโคนต้นเป็นร่องแล้วใช้ tridemorph ราดโคนต้นทุก 6 เดือน

โรครากขาว

โรครากขาว 

เกิดเชื้อ Rigidoporus microporus (Fr.) Overeem ZSyn: Rigidoporus lignosus (Klozsch) Imazeki) มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน โดยจะแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสระหว่างรากที่เป็นโรคของต้นกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม โดยเชื้อราสามารถเข้าทำลายต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

ลักษณะอาการ

  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก เส้นใยของเชื้อรามีสีขาว เจริญแตกสาขาปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูน สีเหลือซีด
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม ต่อมาจะยุ่ยและเบา ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ผิวด้านบนมีสีเหลืองส้มโดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างมีสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล  ขอบดอกเห็ดมีสีขาว

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. แปลงยางที่เคยเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้น และรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ใช้สารเคมี ได้แก่ tridemorph หรือ Cyproconazole หรือ hexaconazole หรือ propiconazole หรือ fenicolonil

โรคลำต้นเน่าของยางชำถุง

โรคลำต้นเน่าของยางชำถุง (Twig Rot of Polybagrubber)

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica และ P. palmivora มักพบระบาดในแปลงเพาะชำยางชำถุงที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก โรคนี้ทำให้ต้นยางชำถุงตายอย่างรวดเร็ว การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์จะช่วยส่งเสริมให้โรคระบาดมากขึ้น

ลักษณะอาการ : เชื้อจะเข้าทำลายที่กิ่งแขนงซึ่งแตกออกมาจากตาของยางพันธุ์ดี ทำให้เกิดรอยแผลสีดำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของลำต้น และขยายพื้นพี่มากขึ้น จนกระทั่งลุกลามไปรอบต้น ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย เพราะระบบการลำเลียงน้ำ และอาหารถูกทำลายจนหมด หากเชื้อทำลายกิ่งแขนงเพียงบางส่วน ต้นยางก็ยังสามารถเจริญต่อไปได้ ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในเวลาอีก 1-2 สัปดาห์ ต่อมารอยแผลอาจมีลักษณะแห้งเป็นสะเก็ด

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
  2. ควรปรับสภาพเรือนเพาะชำไม่ให้แน่นทึบเกินไป
  3. ถ้าพบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออก หรือแยกออกจากแปลงและทำลาย
  4. ใช้สาร dimethomorph, cymoxanil+mancozeb หรือ metalaxyl ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เพื่อควบคุมโรค

โรคเปลือกเน่า

โรคเปลือกเน่า (Mouldy Rot) 

ที่เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. เกิดจากอากาศในสวนยางถ่ายเทไม่ดี มีความชื้นสูงตลอดเวลา หรือในสวนที่มีลักษณะทึบ ปลูกถี่ โรคนี้ระบาดรุนแรงในบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี และจังหวัดชุมพร โดยเชื้อนี้จะแพร่กระจายโดยลม แมลง และมีดกรีดยาง

ลักษณะอาการ : ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋ม มีสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีด ซึ่งอาการคล้ายกับโรคเส้นดำ ต่อมาจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุมที่รอยแผลจนสังเกตเห็นได้ชัดเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อราจะเจริญลุกลามขยายออกไป จนเห็นเส้นใยของเชื้อราเกิดเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ต่อมาเปลือกจะเน่าหลุดเป็นแอ่งเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ เมื่อเฉียนเปลือกบริเวณข้างเคียงออกดู จะไม่พบอาการเน่าลุกลาม ซึ่งต่างจากโรคเส้นดำ

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. จัดการสวนยางให้อยู่ในสภาพโปร่ง โดยตัดแต่งกิ่งก้านที่ระเกะระกะออกเสีย กำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียนอยู่เสมอ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หน้ากรีดยางจะได้แห้งเร็ว ไม่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อ
  2. เมื่อต้นยางเป็นโรค ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทาหน้ากรีดยาง โดยขูดเอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาสารเคมี benomyl หรือ metalaxyl ฉีดพ่นหรือทาหน้ากรีดทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง

โรคราสีชมพู

โรคราสีชมพู (Pink Disease) 

เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor จะเข้าทำลายส่วนเปลือกของลำต้นและกิ่งแขนงต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือเมื่อต้นยางเริ่มสร้างทรงพุ่มโดยเฉพาะตรงบริเวณคาคบในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง ทำให้ต้นยางแคระแกร็น ไม่สามารถเปิดกรีดได้เมื่อถึงกำหนด ถ้าโรคเข้าทำลายคาคบอย่างรุนแรง อาจทำให้ต้นยางยืนต้นตาย

ลักษณะอาการ : เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบหรือกิ่งก้าน จะมีรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือกเมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่ผิวเปลือกยาง แผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะเป็นแผ่นสีชมพู บางกรณีมีตุ่มเล็ก ๆ สีแดงส้มปรากฏอยู่ประปราย เมื่อกิ่งก้านถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่วนปลายกิ่งจะแห้งตาย และมีกิ่งอ่อนแตกออกมาใต้รอยแผล เพื่อเจริญเติบโตขึ้นใหม่ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแก่การเจริญลุกลาม เชื้อราจะพักตัว และสีชมพูที่เคยปรากฎจะซีดลงจนเป็นสีขาว เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไป จะเริ่มเจริญลุกลามต่อไป

การแพร่ระบาด : โรคนี้ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น มีปริมาณน้ำฝนสูง และเกิดรุนแรงมากในดินที่ขาดธาตุโบรอน เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูปีถัดไป เชื่อระบาดโดยลม และฝน

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. ดูแลรักษาสวนยางให้โปร่ง อากาศถ่ายแทสะดวก ไม่อับชื้น
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์อ่อนแอในเขตอากาศชุ่มชื้นเช่น RRIM600
  3. ถ้าเป็นโรครุนแรงจนถึงกิ่งแห้งตาย และมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล ควรตัดแต่งกิ่งแห้งตายทิ้ง โดยตัดให้ต่ำกว่ารอยแผลประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วทาสารเคมีเคลือบบาดแผล
  4. ขูดแผลแล้วใช้เบโนมิล (Benomyl), ไตรดีมอร์ฟ (tridemorph) หรือสารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) ทาบริเวณแผล หรือฉีดพ่น

โรคเส้นดำ (Black Stripe)

โรคเส้นดำ

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryose และ P. palmivora เป็นโรคทางลำต้นที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำลายหน้ากรีดซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้หน้ากรีดเน่า ต้องหยุดกรีด และเปลือกงอกใหม่เสียหายไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนหน้าเดิมได้ ทำให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตขาดหายไปกว่าครึ่ง โรคนี้แพร่ระบาดในพื้นที่ที่เกิดโรคใบร่วง และฝักเน่าเป็นประจำ

ลักษณะอาการ : เหนือรอยกรีดจะมีลักษณะซ้ำ ต่อมาบริเวณรอยช้ำนี้จะเป็นรอยบุ๋มสีดำ และขยายตัวตามยาว บริเวณที่ไม่เป็นโรคจะมีเปลือกงอกใหม่หนาเพิ่มขึ้น จึงมองเห็นรอยบุ๋มของส่วนที่เป็นโรคชัดเจน เมื่อเฉือนเปลือกออกดู จะพบว่ารอยบุ๋มนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้เป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น หากหน้ากรีดยางเป็นโรครุนแรง ทำให้เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริ มีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกที่เป็นโรคเน่าหลุดออก

การแพร่ระบาด :  เชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มีการป้องกันรักษาหน้ากรีด โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า 90% หน้ากรีดจะเปือกอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. เขตที่มีการระบาดควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น BPM24
  2. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง
  3. เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อ้ป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน
  4. ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์

เยี่ยมชม TP48 จากป่าพยอม พัทลุง

คุณเสน่ห์ และคณะ จากป่าพยอม พัทลุง






โรคยางพารา

โรคยางพารา

โรคยางพาราที่เกิดจากเชื้อ

1.โรคใบ

  1. โรคใบจุดตานก
  2. โรคใบจุดคอลเลโทตริกัม
  3. โรคใบจุดก้างปลา
  4. โรคราแป้ง
  5. โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า

2.โรคกิ่งก้าน และลำต้น