ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

โรคใบจุดก้างปลา

โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora Leaf Spot)

ระบาดในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2528 ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี กับต้นยางใหญ่ พันธุ์ RRIC 103 ซึ่ง เป็นพันธุ์จากประเทศศรีลังกา และพันธุ์ RRIT 21 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อเชื้อ Phytophthora ต้องถูกตัดออกจากคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536

ลักษณะอาการ

เชื้อเข้าทำลายใบได้ทุกระยะ ช่วงใบอ่อนจะอ่อนแอต่อเชื้อมากที่สุด อาการบนใบมีตั้งแต่จุดแผลลักษณะกลม หรือรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเส้นผ่าเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-8 มม. จนถึงแผลขนาดใหญ่ กลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลือง ล้อมรอบรอยแผล ลักษณะเด่นของแผลที่พบบนใบคือ เส้นใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีลักษณะคล้ายก้างปลา ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อสร้างสารพิษ (toxin) ตรงบริเวณเที่เข้าทำลาย แล้วแพร่กระจายไปตามเส้นใบ ทำให้เนื้อเยื่อใบตายการเข้าทำลายของเชื้อบริเวณเส้นกลางใบเพียงแผลเดียว ก็สามารถทำให้ใบร่วงได้ ถ้าเข้าทำลายที่เส้นใบย่อย ใบจะไม่หลุดร่วง จึบพบเห็นอาการก้างปลาอย่างชัดเจนบนใบ นอนจากนี้อาจพบแผลลักษณะค่อนข้างกลมที่มีการยุบตัวของเนื้อเยื่อซ้อนกันเป็นวง (concentric spots) ตรงกลางแผลที่แห้งอาจแตกขาดเป็นรู ซึ่งลักษณะอาการแบบนี้คล้ายกับอาการที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum
          โรคระบาดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางจะแสดงแค่อาการใบจุด แต่ในกรณีที่ระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนไหม้ แห้งเหี่ยว ใบร่วง เมื่อแตกยอดใหม่ก็จะถูกเชื้อเข้าทำลาย และใบร่วงซ้ำอีก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต และเกิดอาการตายจากยอด หากดินมีความชื้นเพียงพอ จะมีการแตกยอดอ่อนขึ้นมาใหม่ใต้ส่วนที่แห้ง ยอดอ่อนสีเขียวที่ถูกทำลายจะเกิดแผลรูปกระสวย สีน้ำตาล ขยายไปตามความยาวของลำต้น ทำให้กิ่งแห้ง เปลือกแตกจนอาจก่อให้เกิดการยืนต้นตายในที่สุด เชื้อสามารถทำให้เกิดรอยแผลสีดำบนก้านใบ เป็นสาเหตุให้ใบร่วงได้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดแผลบนใบ แปลงกล้ายางที่เกิดโรคระบาดจะไม่สามารถติดตาได้ตามกำหนดเวลา ระยะใบยางอ่อนจะอ่อนแอต่อโรคมาก แต่ในระยะใบยางแก่อาจพบแผลมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดเท่านั้น

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. ไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอในพื้นที่ที่สภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของโรค โดยเฉพาะพันธุ์ RRIC 103, RRIT 21, RRII 105, RRIC 110
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชแซมที่เป็นพืชอาศัย เช่น งา มะละกอ ถั่วเหลือ
  3. ต้นยางอ่อนใช้สารเคมี mancozeb, chlorothalonil หรือ benomyl ฉีดพ่นพุ่มใบยางทุก 7 วัน เมื่อเริ่มสังเกตพบอาการ
  4. หากพบโรครุนแรงควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบยางพารา เพื่อหามาตรการควบคุมโรค เนื่อจากจัดเป็นโรคร้ายแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น