ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

RRIT251

RRIT251

แม่ �� พ่อ        คัดเลือกจากต้นกล้ายางแปลงเอกชนในจังหวัดสงขลา
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีสีเขียว ฉัตรใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อนลำต้นคดแต่จะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น แตกกิ่งมากทั้งกิ่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม ผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
ลักษณะทางการเกษตร
ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ขนาดลำต้น ทั้งแปลงมีความสม่ำเสมอดีทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก เปลือกเดิม และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง พื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57 พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 5 ปีกรีด เฉลี่ย 333 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59 ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ค่อนข้างต้านทานโรคเส้นดำ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
ลักษณะดีเด่น
ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงมาก ขนาดลำต้นมีความสม่ำเสมอทั้งแปลง เปิดกรีดได้เร็วมีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก มีความต้านทานโรค และน้ำยางมีสมบัติเหมาะสมต่อการแปรรูปทางอุตสาหกรรม
ข้อสังเกต
ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ในระยะยางอ่อนจะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดนูน ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก
ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำ
ใต้ดินสูง

*****อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร

ข้อมูลเพิ่มเติม   เกี่ยวกับ RRIT251

ลูกผสมยางไทยที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตและปรับตัว ตามสภาพแวดล้อมปลูกยางต่างๆของประเทศ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยยางสามารถคัดเลือกพันธุ์ยางได้หลายพันธุ์ที่ให้ผล ผลิตน้ำยางสูง และมีลักษณะรองที่ดี เช่น การเจริญเติบโต ความต้านทานโรค เปลือกหนา วงท่อ น้ำยางมาก ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้หลายพันธุ์ และพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจของ เกษตรกร คือ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 หรือ RRIT 251
สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251)
ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251ได้รับการคัดเลือกจากต้นกล้ายาง ในแปลงเกษตรกรจังหวัดสงขลา ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ดังนี
ปี 2503                  : เริ่มรวบรวมพันธุ์ยางที่ปลูกด้วยเมล็ดที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นที่ต่าง ๆ
ปี 2518                  : คัดเลือกต้นยางจากเมล็ดที่ปลูกในปี 2505 ในสวนยางของนายซิ่ว บุญไผ่   เกษตรกรในจังหวัดสงขลา
ปี 2520 ,22           : เปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น ที่สถานีทดลองยางถลาง จังหวัดภูเก็ต และสถานี ทดลองโคกปริเม็ง
                                 จังหวัดนราธิวาส
ปี 2522 ,31           : เปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย ที่สถานีทดลองยางยะลา จังหวัดยะลา
                                สถานีทดลองโคกปริเม็ง จังหวัดนราธิวาส สถานีทดลองยางรือเสาะ
                                จังหวัดนราธิวาส และสถานีทดลองยางคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ปี 2536                  : ทดสอบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                                สถานีทดลองยางระนอง จังหวัดระนอง สถานีทดลองยางวังทัง
                                จังหวัดพังงา สถานีทดลองยางพังงา จังหวัดพังงา
                                ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
                                และศูนย์วิจัยยางหนองคาย จังหวัดหนองคาย
                                แนะนำเป็นพันธุ์ยางชั้น 3 ในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536
ปี 2540                  : เลื่อนชั้นเป็นพันธุ์ยางชั้น 2 ในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2540
ปี 2542                  : ผ่านการรับรองพันธุ์จากอนุกรรมการรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตร
                                แนะนำเป็นพันธุ์ยางชั้น 1
ลักษณะเด่น
·   ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูง 467 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM600 ร้อยละ 59.4  (ตารางที่ 1)
  
ตารางที่ 1. ผลผลิตของยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251
·       การเจริญเติบโต ระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี ระยะระหว่างกรีดปานกลาง และมี ขนาดลำต้นสม่ำเสมอดีมาก ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดได้มาก โดยมีจำนวนต้นเปิดกรีด ในปีแรก 64 ต้นต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 78 มากกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่มีจำนวนต้นเปิดกรีด ในปีแรก 38 ต้นต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.9
·   เปลือกหนา เมื่ออายุ 9 ปี ความหนาเปลือกเฉลี่ย 5.8 มม. หนากว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 13.7

·   มีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก เมื่ออายุ 9 ปีมีจำนวนวงท่อน้ำยาง 10.5 วง มากกว่า RRIM 600 ร้อยละ 23.5
·   ความต้านทานโรคอยู่ในระดับปานกลาง (ตารางที่ 2)
·   มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อยใกล้เคียงกับพันธุ์ RRIM 600 โดยมีจำนวนต้นแสดงอาการ เปลือกแห้ง 3 – 4 ต้นต่อไร่       

   ตารางที่ 2. ความต้านทานโรคของยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251

 ข้อจำกัด ยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 มีขนาดทรงพุ่มใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พื้นที่ที่มีลมแรง พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับความลึกขอใต้ดินน้อยกว่า 1 เมตร

                นอกจากนี้แล้ว ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จากสภาวะความผันผวนของราคายางเนื่องจากวิกฤต ทางค้านเศรษฐกิจ ตลอดจนนโยบายการปิดป่าของรัฐบาลตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ทำให้เกิดสภาวะการ ขาดแคลนไม้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้ได้หันมาให้ความสนใจไม้ยาง ทำให้ไม้ยางมีราคาเพิ่มขึ้น มาก เกษตรกรบางรายจึงให้ความสนใจการปลูกยางเพื่อผลิตเนื้อไม้มากขึ้น ดังนั้น สถาบันวิจัยยางจึง ได้เร่งพัฒนายางพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตน้ำยางและ/หรือเนื้อไม้สูง ซึ่งจากการดำเนินงานผสมพันธุ์ยางรุ่น ใหม่ระหว่างปี 2531 – 2543 ได้จำนวน 16,549 สายพันธุ์ ที่อยู่ในระหว่างการทดลอง และผลการ ทดลองเบื้องต้นพบว่า มีหลายสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ RRIM600 และ PB260 ถึงร้อยละ 15.2 – 22.8 โดยมีอัตราเส้นรอบวงเพิ่มขึ้นต่อปีระหว่าง 9.4 –10.7 ซม.ต่อปี ทำให้ คาดว่าจะสามารถเปิดกรีดได้ในช่วงอายุ 5 - 5 ½ ปี ดังแสดงในตารางที่ 3 และสายพันธุ์ยางเหล่านี้ ยังมีลักษณะอื่น ๆ ที่ดี เช่น สายพันธุ์ RRI-CH-35-1299 มีขนาดลำต้นที่สม่ำเสมอกันทุกต้น ทรงพุ่มมี ขนาดใหญ่ทำให้ต้นยางโตเร็วมาก สายพันธุ์ BZ-CH-35-1602 และ OP-CH-35-2090 มีขนาดลำต้นโตดี สม่ำเสมอกันทุกต้น แตกกิ่งสูง ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง มีศักยภาพให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง ในขณะที่สาย พันธุ์ RRI-CH-35-129 มีขนาดลำต้นโตสม่ำเสมอกันทุกต้น ทรงพุ่มมีขนาดเล็ก พุ่มใบทึบ แตกกิ่ง สมดุล ต้านทานดีต่อโรคราแป้ง ซึ่งระบาดค่อนข้างรุนแรงในพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำ ให้มีศักยภาพที่จะเพิ่มจำนวนต้นปลูกต่อไร่ และเหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ เมื่อผ่านการกรีดทดสอบผลผลิตแล้ว คาดว่าจะสามารถ คัดเลือกพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรปลูกตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น