ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

การดูแลรักษาต้นยางชำถุง

  1. การรดน้ำ  ควรให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางชำถุง อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป ถ้ามากเกินไปอาจทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ และบางครั้งอาจทำให้โรคบางชนิดระบาดในแปลงได้ง่าย แต่ถ้าน้อยเกินไปจะทำให้ดินในถุงแห้ง ซึ่งจะส่งผลต่อตาที่กำลังผลิออกมา ชะงักการเจริญเติบโต และตายได้ ดังนั้นจึงควรให้น้ำทุกวันในเช่วงเช้าและเย็น
  2. การใส่ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยเม็ดสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิม และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ อัตรา 5 กรัม ต่อถุง ใส่หลังจากตาผลิออกมาแล้ว 2-3 สัปดาห์ และใส่ครั้งต่อไปทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ การใส่ปุ๋ยควรระมัดระวังเพราะปุ๋ยถูกใบอ่อนของต้นยางจะทำให้ใบเกิดรอยไหม้
  3. การกำจัดวัชพืช  วัชพืชที่งอกในถุงที่ปักชำต้นยางอยู่นั้น จะเป็นตัวการแย่งน้ำและอาหาร ทำให้ต้นยางชำถุงเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงควรควบคุมและกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้แรงงานถอนขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะถอนได้ง่าย และกระทบกระเทือนต่อระบบรากน้อย
  4. การตัดกิ่งแขนง  หลังจากปักชำต้นตอตายางในถุงแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเริ่มมีกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากตาของต้นเดิม กิ่งแขนงเหล่านี้จำเป็นต้องตัดทิ้งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพราะหากปล่อยเอาไว้จะมีผลทำให้ตาที่ติดเอาไว้ไม่แตก หรือมีผลต่อตาที่แตกแล้ว ทำให้ต้นเคระแกรนไม่เจริญเติบโต
  5. การคัดต้นยางชำถุงทิ้ง  ในการผลิตต้นยางชำถุง มักจะพบต้นที่มีลักษณะผิดปกติอยู่เสมอ ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องมาจากนำต้นตอตายางที่มีคุณภาพต่ำมาปักชำ การจัดการการผลิตไม่ได้มาตรฐาน และต้นยางชำถุงได้รับความเสียหายรุนแรงจากโรค ถ้าต้นยางชำถุงมีลักษณะผิดปกติให้คัดทิ้งทัน ไม่แนะนำไปปลูก มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
  6. การป้องกันกำจัดโรค  โรคที่ระบาดและทำความเสียหายให้กับต้นยางชำถุงเกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น โรคราแป้ง โรคใบจุดตานก โรคใบจุดนูน และโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ซึ่งโรคแต่ละชนิดจะแพร่ระบาดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป