ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

ประวัติยางพาราไทย


ประวัติยางพารา
ยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม"    ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ. 2425 ซึ่งช่วงนั้น    ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22    ต้นนำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเซีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2442    พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี    (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง"    เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก==จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์    ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ    กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน    ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย    และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยางและชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า    “ยางเทศา”    ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14    จังหวัด ==    ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย
จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก    และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศ    ได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก  
รัฐบาลในทุกๆ สมัยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนายางมาโดยตลอด    ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในด้านการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี    รวมถึงการให้ทุนสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี
หลักการและเหตุผล
 ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของโลก    โดยเฉพาะภาคใต้ของไทยมีการปลูกมากที่สุด    ต่อมามีการขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกมากขึ้นโดยเพิ่มพื้นที่ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่สามารถขยายการเพาะปลูกได้อีกหลายล้านไร้ ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาตามมาในเรื่องคุณภาพในทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการคัดสรรสายพันธุ์ยางอย่างมีคุณภาพ การติดตา การเพาะชำถุง จากต้นน้ำถึงปลายน้ำคือเกษตรกรผู้ปลูกไม่ได้รับยางพาราคุณภาพอย่างแท้จริง กลายเป็นเหยื่อ ของกลุ่มทุนที่เข้ามาฉวยโอกาสทุจริตเชิงนโยบายในทุกขั้นตอนตามที่เป็นข่าวแล้วนั้น
ด้วยเหตุดังกล่าวทาง ชมรมกล้ายางคุณภาพตรัง จึงตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าทุกกระบวนการผลิตต้นกล้า ต้องเน้นคุณภาพและการบริการ และทำอย่างมืออาชีพบวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุน

************************************