ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

โรคราสีชมพู

โรคราสีชมพู (Pink Disease) 

เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor จะเข้าทำลายส่วนเปลือกของลำต้นและกิ่งแขนงต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือเมื่อต้นยางเริ่มสร้างทรงพุ่มโดยเฉพาะตรงบริเวณคาคบในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง ทำให้ต้นยางแคระแกร็น ไม่สามารถเปิดกรีดได้เมื่อถึงกำหนด ถ้าโรคเข้าทำลายคาคบอย่างรุนแรง อาจทำให้ต้นยางยืนต้นตาย

ลักษณะอาการ : เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบหรือกิ่งก้าน จะมีรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือกเมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่ผิวเปลือกยาง แผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะเป็นแผ่นสีชมพู บางกรณีมีตุ่มเล็ก ๆ สีแดงส้มปรากฏอยู่ประปราย เมื่อกิ่งก้านถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่วนปลายกิ่งจะแห้งตาย และมีกิ่งอ่อนแตกออกมาใต้รอยแผล เพื่อเจริญเติบโตขึ้นใหม่ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแก่การเจริญลุกลาม เชื้อราจะพักตัว และสีชมพูที่เคยปรากฎจะซีดลงจนเป็นสีขาว เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไป จะเริ่มเจริญลุกลามต่อไป

การแพร่ระบาด : โรคนี้ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น มีปริมาณน้ำฝนสูง และเกิดรุนแรงมากในดินที่ขาดธาตุโบรอน เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูปีถัดไป เชื่อระบาดโดยลม และฝน

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. ดูแลรักษาสวนยางให้โปร่ง อากาศถ่ายแทสะดวก ไม่อับชื้น
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์อ่อนแอในเขตอากาศชุ่มชื้นเช่น RRIM600
  3. ถ้าเป็นโรครุนแรงจนถึงกิ่งแห้งตาย และมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล ควรตัดแต่งกิ่งแห้งตายทิ้ง โดยตัดให้ต่ำกว่ารอยแผลประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วทาสารเคมีเคลือบบาดแผล
  4. ขูดแผลแล้วใช้เบโนมิล (Benomyl), ไตรดีมอร์ฟ (tridemorph) หรือสารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) ทาบริเวณแผล หรือฉีดพ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น