ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

การผลิตและการปลูกต้นยางชำถุง

          วัสดุปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกสร้างสวนยางมีอยู่หลายชนิด เช่น ต้นตอตายาง ต้นยางชำถุง และต้นกล้าติดตาในแปลง เป็นต้น
          แต่ละชนิดที่เกษตรกรนิยมใช้ปลูกสร้างสวนยางกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ ต้นยางชำถุง ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่ได้รับผลสำเร็จสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ การเจริญเติบโตของต้นยางหลังจากปลูกไม่หยุดชะงัก ได้ต้นยางที่เจริญเติบโตสม่ำเสมอ ช่วยลดช่วงระยะเวลาดูแลรักษาสวนยางอ่อนให้สั้นลง สามารถเปิดกรีดได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอยาง และต้นกล้าติดตาในแปลง นอกจากนี้ต้นยางชำถุงยังเหมาะสำหรับใช้เป็นต้นยางปลูกซ่อมได้ดีอีกด้วย

การผลิตต้นยางชำถุง

การผลิตต้นยางชำถุงโดยทั่วไปสามารถผลิตได้ 2 วิธีคือ
  1. การปลูกต้นกล้าเพื่อติดตาในถุง
  2. การปลูกด้วยต้นตอยาง
          สำหรับวิธีการปลูกต้นกล้าเพื่อติดตาในถุง โดยการปลูกต้นกล้าในถุงเมื่อต้นกล้าอายุ 6-8 เดือน หรือลำต้นของต้นกล้าที่บริเวณติดตามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยว่า 1.0 ชม. จึงทำการติดตา จากการศึกษาในประเทศมาเลเซียพบว่า การติดตาในถุงขนาด 8x20 นิ้ว ประสบผลสำเร็จร้อยละ 92-95 ส่วนในประเทศไทยนิยมติดตาในถุงเฉพาะในบางพื้นที่ที่มีปัญหาหน้าดินตื้น ไม่สามารถปลูกสร้างแปลงกล้ายางได้ โดยมักใช้ถุงขนาด 3 1/2 x 12 นิ้ว ซึ่งยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า การติดตาได้รับผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าการปลูกต้นกล้ายางในถุงเป็นระยะเวลานาน ๆ สภาพของต้นกล้ายางมีความสำบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เพราะเจริญเติบโตในถุงที่มีดินจำกัด ระบบรากของต้นยางบางส่วนจะม้วนเป็นก้อนบริเวณก้นถุง และบางส่วนจะแทงทะลุก้นถุงลงในดิน เมื่อขนย้ายไปปลูกจะทำให้ระบบรากขาด และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางติดตาในถุง นอกจากนี้ยังพบว่าถุงที่บรรจุดินมีสภาพฉีกขาดเสียหายเพราะแสงแดดเผา
          ส่วนการผลิตต้นยางชำถุงด้วยวิธีการปลูกต้นตอตายาง เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง โดยการนำต้นตอตายางมาปลูกในถุงที่บรรจุดินขนาด 4 1/2 x 14 นิ้ว ดูแลรักษานานประมาณ 50-60 วัน ก็จะได้ต้นยางชำถุงขนาด 1 ฉัตร พร้อมที่จะขนย้ายไปลูกในแปลง

1. การเลือกสถานที่สร้างแปลง

    • ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และมีน้ำเพียงพอตลอดปี
    • ควรเป็นพื้นที่ราบ มีการระบายน้ำดี
    • ควรตั้งอยู่ในแหล่งที่มีการปลูกสร้างสวนยาง
    • การคมนาคมสะดวก

2. การจัดเตรียมแปลง และโรงเรือน  >>>> อ่านต่อ Click

3. การจัดเตรียมวัสดุสำหรับการผลิต  >>>> อ่านต่อ Click

4. การใช้สารฮอร์โมนกับต้อตอยาง   >>>> อ่านต่อ Click

5. การปักชำต้นตอยาง   >>>> อ่านต่อ Click

6. การเก็บรักษาต้นตอตายาง   >>>> อ่านต่อ Click

7. การดูแลรักษาต้นยางชำถุง   >>>> อ่านต่อ Click

8. การขนย้ายต้นยางชำถุงไปปลูก   >>>> อ่านต่อ Click


การปลูกต้นยางชำถุง


อ่านรายละเอียด  >>>> อ่านต่อ Click

การจัดเตรียมวัสดุสำหรับการผลิต

  1. ถุงพลาสติก  ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำที่มีคุณภาพดี ซึ่งมีอายุใช้งานในสภาพกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ถ้าเลือกถุงราคาถูก และไม่มีคุณภาพจะทำให้ถุงฉีกขาดเร็ว ซึ่งจะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนถุง ขนาดของถุงที่เหมาะสมสำหรับผลิตต้นยาง 1-2 ฉัตร ควรมีขนาด 4 1/2 x 14 นิ้ว หรือ 11 x 35 เซนติเมตร มีความหนาประมาณ 0.05 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อบรรจุดินแล้วจะมีน้ำหนัก ประมาณ 2 กิโลกรม ถุงต้องมีรูระบายน้ำด้านข้างขนาด 3 มิลลิเมตร จำนวน 3 แถว ๆ ละ 5-6 รู โดยห่างจาก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว
  2. ดินบรรจุถุง  ควรเลือกเฉพาะหน้าดินที่เป็นดินร่วนเหนียวที่มีความสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี และมีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4-5-5 ถ้าเป็นดินเหนียวควรผสมด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่น ทราย แกลบ หรือขุยมะพร้าว อัตรา 2:1 (ดิน 2 ส่วน ต่อวัสดุปลูก 1 ส่วน) ในการเตรียมดินบรรจุถุงควรผสมปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) ประมาณ 10 กรัมต่อถุง  หรือประมาณ 5 กิโลกรัมต่อดิน 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถนำไปบรรจุถุงได้ประมาณ 500 ถุง ข้อควรระวังคือต้องใช้ดินร่วนปนเหนียวที่ไม่แตกออกจากกันเวลาขนย้ายต้นยางไปปลูกในแปลง  ถ้าดินแตกออกจากกันจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อระบบราก และอาจทำให้ต้นยางตายได้ สำหรับการบรรจุดินลงถุงควรอัดดินให้แน่นพอสมควร และควรบรรจุดินล่วงหน้าก่อนการปักชำต้นยางหลังจากบรรจุดินเสร็จแล้ว ควรรดน้ำพอประมาณเพื่อให้ดินยุบ หลังจานั้น 1-2 วันควรเติมดินให้อยู่ระดับต่ำกว่าปากถุงที่พับแล้ว 2-3 เซนติเมตร
  3. ต้ตตอตายาง  ต้องเป็นต้นตอตายางที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ได้ขนาดตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และตัดแต่งรากเรียบร้อยแล้ว ส่วนต้นที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นที่มีราคคดงอ รากแก้วขาดสั้นและมีหลายราก แผ่นตาเสียหายบางส่วน แผ่นตาติดไม่สนิทกับลำต้น ต้นที่มีขนาดเล็กและโตกว่ามาตรฐาน ต้นที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายจาการขุดถอน  และต้นที่มีโรค และแมลงรบกวน ต้นเหล่านี้ต้้องคัดทิ้งไปไม่ควรนำมาผลิตต้นยางชำถุง

ต้นตอตายางที่ได้มาตรฐาน ควรมีคุณสมบัติดังนี้

  1. รากแก้วสมบูรณ์ มีรากเดียว ลักษณะไม่คดงอ เปลือกหุ้มรากไม่เสียหาย
  2. ความยาวของรากวัดจากโคนคอดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
  3. ต้นตอตายางมีลำต้นสมบูรณ์ตรง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ตาระหว่าง 0.9-2.5 เซนติเมตร
  4. ความยาวของลำต้นจากโคนคอดินถึงตาไม่เกิน 10 เซนติเมตร และจากตาถึงรอยตัดลำต้นจะต้องไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร
  5. แผ่นตาเขียวมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 0.9 เซนตเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สภาพแผ่นตาสมบูรณ์แนบติดสนิทกับต้นตอ ไม่เป็นสีเหลือง หรือรอยแห้งเสียหาย ตำแหน่งของตาต้องไม่กลับหัว และควรเลือกใช้ตาก้านใบ
  6. แผ่นตาที่นำมาติดได้จากแปลงกิ่งตายางที่ได้รับการรับรองจจากกรมวิชาการเกษตร
  7. ต้นตอตายางต้องอยู่ในสภาพสดสมบูรณ์ ปราศจากโรคและศัตรูพืช