ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

พันธุ์กล้ายาง RRIM600 (ยอดดำ)

RRIM 600 (ยอดดำ)

(ช่วงท้ายเชิญชมวีดีโอสมภาษณ์สด เกษตกรเจ้าขอแปลง RRIM600 (ยอดดำ) เจ้าแรกของอำเภอย่านตาขาว
         
          พันธุ์ยางยอดดำนั้น เมื่อแตกยอดอ่อน จะมีลักษณะสีดำ บริเวณก้านจะค่อนข้างดำ อย่างเห็นได้ชัด  จึงถูกขนานนามว่า "พันธุ์ยอดดำ


          ยังมีความเชื่อที่ว่าสายพันธุ์นี้ ได้พัฒนา มาจากโดยการผ่าเหล่าสายพันธุ์ RRIM600  แต่ข้อมูลก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นจริงหรือเปล่า  เพราะไม่มีสถาบันวิจัยใด ๆ มายืนยัน

          แต่ตามประวัติที่ได้ไปตามถามจากเกษตรกรพื้นที่ ที่อำเภอย่านตาขาว กับคุณลุงเซี่ย(ญาติของนายกล่อม) เมื่อวันที่ 17/1/2555 ที่ผ่านมานี้ ได้ความมาว่า
          "ตามประวัติของยางสายพันธุ์ RRIM 600 (ยอดดำ) นั้นก็คือ

นายกล่อม สวนอินทร์ (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นพ่อของลุงชิ้ม อยู่ที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ได้สังเกตต้นยางต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสวนของตน ให้น้ำยางมาก มากกว่าต้นอื่น ๆ ในสวนทั้งหมด จึงได้นำกิ่งพันธุ์ต้นนั้น มาขยายพันธุ์ต่อ จนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง เรียกยางพันธุ์นี้ว่ายางนายกล่อม เพราะมีความพิเศษ มากกว่า RRIM600 ธรรมดา หลายเท่า  ยิ่งต้นโต อายุมากขึ้น น้ำยางก็ยิ่งออก
คุณลุงยังเล่าต่อไปว่า เมื่อกรีด ปีแรก ถึงปีสอง  น้ำยาง และขี้ยาง(ยางก้อน) สายพันธุ์นี้จะออกค่อนข้างจะมีสีดำ  ถ้าเป็นยางก้อนสีจะเด่นชัด  ดังในภาพ

ภาพนี้เป็นภาพถ่ายเมื่อไม่นานมานี้
ถ้าหากตอนเปิดกรีดใหม่ น่าจะมีสีดำ มากกว่านี้
        
ชื่อเสียงยางของนายกล่อม ได้ขยายวงกว้างออกไป และมีขายนำไปขยายพันธุ์อีกหลายพื้นที่
อย่างเช่นที่จังหวัดระนอง ที่นั้นเรียกกันว่า "โถน หรือ กระโถน" เพราะว่าบริมาณการออกของน้ำยางมาก จะต้องใช้ภาชนะที่ใหญ่เท่ากระโถนมารองรับ จึงจะไม่ล้น  เพราะสายพันธุํนี้ยิ่งโต ยิ่งออก และอีกหลายพื้นพี่ ต่างก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป

         ต่อมาชื่อเสียงของยางนายกล่อม ไปได้ยินไปถึงบริษัท เจริญโภคพันธุ์เมล็ดพืช จำกัด (ซีพีเอช) เครือเจริญโภคพันธุ์ (ซีพี) จึงได้ส่งชุดวิชาการเกษตรมาทำการวิจัยถึงคุณสมบัติของสายพันธุ์นี้  เมื่อทำการวิจัยเสร็จ ได้เล็งเห็นคุณสมบัติลักษณะเด่นของยางสายพันธุ์นี้หลายประการ จึงได้ตั้งชื่อยางสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า "พันธุ์ยาง เจ.วี.พี.80 (JVP80) 

ลักษณะพิเศษเด่นของสายพันธุ์นี้คือ

  • ใบใหญ่ เขียวเข็ม ทำให้ต่อต้านโรคได้ดี

  • ลักษณะของผิวใบจะมันวาว เหมือนกับเคลือบด้วยแว๊ก ทำให้ต้านทานต่อโรคเชื้อราทางใบ และสามารถสังเคราะห์แสงได้ดี
  • การเจริญเติบโตได้ไว สามารถกรีดได้เมื่อย่างเข้าปีที่ 6 
  • ให้ผลผลิตสูง ถึง 500 กก.ต่อไร่ /ปี ขึ้นอยู่กับการดูบำรุงและดูแลรักษา
  • น้ำยางข้น เปอร์เซ็นต์สูง 40-45 %  ยางทั่วไป 32-36 %
  • เปลือกงอกทดแทนใหม่ได้เร็ว และหนามีความสมบูรณ์ จึงสามารถกรีดได้หลายหน้ายาง ยึดอายุการกรีดได้ ถึง 35 ปี ยางทั่วไปกรีดได้แค่ 25 ปี เท่านั้น
  • สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพทุกพื้นที่่

ลักษณะของสายพันธุ์        ลักษณะของสายพันธุ์ก็ไม่แตกต่างจากพันธุ์ RRIM 600 มากกว่านัก แต่จะมีลักษณะเด่นคือ สีใบสีเขียวแก่  สีของเส้นใบเขียวอ่อนอย่างชัดเจน   ทิศของคิ้วตาจะสมดุลกัน   รอยแผลก้านใบเป็นรูปหัวใจ   ปลายในเรียวแหลม    ความยาวของก้านใบย่อยลักษณะยาวการทำมุมรหว่างก้านใบย่อยลักษณะกว้าง   ลักษณะของตาก้านใบนูนน้อย   ที่ตั้งของตาก้านใบชิดฐานก้านใบ  เส้นใบนูนมองเด่นชัด


เชิญชมวีดีโอสัมภาษณ์สด RRIM600 ยอดดำ กับเกษตกรตัวจริง ลุงเซี่ย เกษตกรแปลงแรกที่ย่านตาขาว







กลับไปดูวีดีโอ อื่น ๆ



***บทความ และข้อมูลดังกล่าว เป็นบทความที่ได้มาจากเกษตรกรจริง ซึ่งไปชมสวน และสมภาษณ์มา แต่ที่เผยแพร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกสายพันธุ์ แก่เกษตรกร ผู้สนใจ ไม่ได้เพื่อการค้าแต่อย่างไรใด****

RRIT251

RRIT251

แม่ �� พ่อ        คัดเลือกจากต้นกล้ายางแปลงเอกชนในจังหวัดสงขลา
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีสีเขียว ฉัตรใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อนลำต้นคดแต่จะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น แตกกิ่งมากทั้งกิ่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม ผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
ลักษณะทางการเกษตร
ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ขนาดลำต้น ทั้งแปลงมีความสม่ำเสมอดีทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก เปลือกเดิม และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง พื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57 พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 5 ปีกรีด เฉลี่ย 333 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59 ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ค่อนข้างต้านทานโรคเส้นดำ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
ลักษณะดีเด่น
ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงมาก ขนาดลำต้นมีความสม่ำเสมอทั้งแปลง เปิดกรีดได้เร็วมีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก มีความต้านทานโรค และน้ำยางมีสมบัติเหมาะสมต่อการแปรรูปทางอุตสาหกรรม
ข้อสังเกต
ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ในระยะยางอ่อนจะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดนูน ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก
ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำ
ใต้ดินสูง

*****อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร

ข้อมูลเพิ่มเติม   เกี่ยวกับ RRIT251

ลูกผสมยางไทยที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตและปรับตัว ตามสภาพแวดล้อมปลูกยางต่างๆของประเทศ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยยางสามารถคัดเลือกพันธุ์ยางได้หลายพันธุ์ที่ให้ผล ผลิตน้ำยางสูง และมีลักษณะรองที่ดี เช่น การเจริญเติบโต ความต้านทานโรค เปลือกหนา วงท่อ น้ำยางมาก ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้หลายพันธุ์ และพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจของ เกษตรกร คือ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 หรือ RRIT 251

RRIM600

พันธุ์กล้ายาง RRIM600
แม่ 􀂯 พ่อ        Tjir 1 x PB 86
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวอมเหลือง ลักษณะฉัตรใบเป็นรูปกรวยมีขนาดเล็ก แตกกิ่งช้า กิ่งมีขนาดปานกลาง ทิ้งกิ่งมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร
ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบางเปลือกงอกใหม่หนาปานกลางพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 297 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 9 ปีกรีดเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคราสีชมพู ค่อนข้างอ่อนแอ ต่อโรคเส้นดำ ต้านทานต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนระดับปานกลาง มีจำนวนต้น
เปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
ข้อแนะนำ
ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ ระบาดรุนแรง
ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

***อ้างอิงจากสถาบันวิจัยสงขลา กรมวิชาการเกษตร

สินค้าทั้งหมด

ขออภัยกำลัง  กำลังปรับปรุง

VDO แนะนำ TP48

อายุสองปี กว่า ๆ



แปลง 10 กว่าไร่



อายุ 1 ปี กว่า ๆ



แปลงแรกของสายพันธุ์


ชมสวนยางของเกษตรกร


ชมสวนของเกษตร..ต่อ..


TP48&RRIM600 ที่กรีดแล้ว


เปรียบเทียบสายพันธุ์


TP48 อายุ 5 ปี


อายุ 4 ปี


แนะนำการติดตา


แนะนำสายพันธุ์





ประมาลภาพกล้ายาง

ประมาลภาพ TP48 (พันธุ์มาเลย์)

แผ่นยาง TP48 สีจะออกเหลืองอ่อน ๆ


ขนาดใบของพันธุ์ TP 48


ป้ายของหมู่บ้าน








แปลงยาง TP48 (พันธุ์มาเลย์)ในพื้นนาเก่า ที่นำมาปลูกยางพารา




TP 48 1 ฉัตร




ครอบครัวคุณเสกสรรค์









ตอยางค้างปี RRIM600





แปลงยาง 42 ไร่



แปลงกล้ายาง 40 ไร่



แผนผังการบริหารงานของชาวชุมชนบ้านทอนพลา



รถขนาดเล็ก สำหรับขนส่ง ทั่วประเทศ



 คุณเสกสรรค์ (เกษตรกร/ครูยาง)