ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

โรคเปลือกเน่า

โรคเปลือกเน่า (Mouldy Rot) 

ที่เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. เกิดจากอากาศในสวนยางถ่ายเทไม่ดี มีความชื้นสูงตลอดเวลา หรือในสวนที่มีลักษณะทึบ ปลูกถี่ โรคนี้ระบาดรุนแรงในบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี และจังหวัดชุมพร โดยเชื้อนี้จะแพร่กระจายโดยลม แมลง และมีดกรีดยาง

ลักษณะอาการ : ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋ม มีสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีด ซึ่งอาการคล้ายกับโรคเส้นดำ ต่อมาจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุมที่รอยแผลจนสังเกตเห็นได้ชัดเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อราจะเจริญลุกลามขยายออกไป จนเห็นเส้นใยของเชื้อราเกิดเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ต่อมาเปลือกจะเน่าหลุดเป็นแอ่งเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ เมื่อเฉียนเปลือกบริเวณข้างเคียงออกดู จะไม่พบอาการเน่าลุกลาม ซึ่งต่างจากโรคเส้นดำ

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. จัดการสวนยางให้อยู่ในสภาพโปร่ง โดยตัดแต่งกิ่งก้านที่ระเกะระกะออกเสีย กำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียนอยู่เสมอ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หน้ากรีดยางจะได้แห้งเร็ว ไม่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อ
  2. เมื่อต้นยางเป็นโรค ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทาหน้ากรีดยาง โดยขูดเอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาสารเคมี benomyl หรือ metalaxyl ฉีดพ่นหรือทาหน้ากรีดทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น