ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

วิธีปลูกยางที่ถูกต้อง

วิธีปลูกยางที่ถูกต้อง

  1. ขุดหลุม 50 x 50
  2. ใช้มีดคมปาดก้นถุงให้ขาด
  3. ฝ่าตรงกลางถุง
  4. เอาถุงลงหลุม พอประมาณ (อย่าเพิ่งเอาถุงออก)หันหน้าตายางไปทางทิศตะวันตก หรือ เหนือใต้ (ดูทิศทางลมตามสภาพพื้นที่) แต่อย่าหันหน้าตายางไปทางทิศตะวันออก เพราะแสงแดด อาจจะเผาหน้ายางได้
  5. เอาดินกลบหลุม เกือบจะถึงปากถุง กดดินลงเล็กน้อย
  6. ค่อย ดึงถุงขึ้นมา  อย่าให้ดินในถุงแตกเด็ดขาด เพราะทำให้ระบบรากขาด
  7. กลบดิน
ดูวีดีโอประกอบ


การดูแลสวนยาง ก่อนให้ผลผลิต

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต

           เกษตรกรต้องใช้เวลาในการบำรุง ดูแล รักษาสวนยางพารานับจากวันแรกที่เราปลูกเสร็จจนถึงวันที่เราจะเปิดกรีดได้ ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 6 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานพอสมควร ช่วงนี้ มีแต่รายจ่าย แต่ก็สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่ในสวนยางได้เช่นกันด้วยการปลูกพืชแซมที่ตลาดต้องการ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่เราต้องจัดการให้ดีที่สุด จึงขอกล่าวเรื่องการจัดการในแต่ละปี จนถึงปีที่จะทำการเปิดกรีดต้นยางได้  เกษตรกรควรรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างก่อนตัดสินใจปลูกยางพารา
- ระยะ1 ปีแรกเมื่อเริ่มปลูกยางพารา  
 
          การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1 ปีแรกหลังจากปลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรกก็คือการจัดการทุกอย่างเพื่อให้ต้นยางพาราอยู่รอด หรือให้ตายน้อยที่สุด และควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ย, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 1 ปีเต็ม ต้นที่สมบูรณ์ก็จะมีขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร


  1. หลังจากปลูกแล้ว หากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงนาน ก็ควรให้น้ำบ้างเท่าที่สามารถจะให้ได้
  2. เมือฝนมาครั้งแรก ต้องสำรวจดูว่า ดินในหลุมใดยุบบ้าง ให้กลบดินเพิ่ม หากไม่กลบเมื่อฝนมาครั้งที่สอง ก็จะทำให้น้ำขังบริเวณโคนต้นซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้
  3. หลังจากฝนครั้งแรกมาแล้ว ทิ้งช่วงนาน ฝนครั้งที่สองก็ยังไม่มาไม่มา ชาวสวนยางพาราก็ต้องมาสำรวจดูว่ามีหลุมใดบ้างที่ดินรอบ ๆ ต้นยางแตกหรือแยกเป็นวง ๆ ก็ให้กลบดินเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากหลุม ซึ่งก็อาจทำให้ต้นยางพาราเฉาหรือตายได้เช่นกัน
  4. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  5. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  6. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดี
  7. หากต้องการปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  8. กรณีปลูกด้วยยางชำถุง เมื่อต้นยางอายุครบ 1, 4 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรอื่น เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา
  9. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ซึ่งปลูกยางชำถุงอย่างเดียว เมื่อต้นยางอายุครบ 1 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-10-12 ตามอัตรา โดยไม่แยกชนิดของดิน และในปีแรกนี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี (อาจใส่เมื่อต้นยางอายุครบ 6 เดือน)
  10. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดินกลบ หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี หรืออาจใช้เหล็กหุนแทงลงไปในดินให้ลึกพอเหมาะ จำนวน 4 หลุม หยอดปุ๋ยลงไปแล้วกลบก็ได้เช่นกัน
  11. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  12. เมื่อต้นยางพาราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการแตกกิ่งด้านข้างลำต้น ให้ใช้มีดหรือคัดเตอร์ค่อย ๆ ตัดออก ระวังอย่าให้โดนก้านใบ
  13. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ


- เมื่อยางพารา อายุได้ 1 - 2 ปี