ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

การสร้างแปลงกิ่งตายาง

 
 
การสร้างแปลงกิ่งตายาง
           กิ่งตายางเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการขยายพันธุ์ยาง.....  ด้วยวิธีการติดตา การปลูกสร้าแปลงกิ่งตายางมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีที่สมบูรณ์ และถูกต้องตรงตามสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ในการติดตาต้นกล้ายางให้ได้ตันยางพันธุ์ดีที่มีคุณภาพตามต้องการในการสร้างแปลงกิ่งตายางนั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 

           การเลือกพื้นที่ การเลือกพื้นที่สร้างแปลงกิ่งตายาง นับว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นแปลงที่ถาวร เพื่อเก็บเกี่ยว
ผลผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีมาใช้ทุกปี  ควรจะเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขัง อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก

          การวางผังแปลงกิ่งตายาง ก่อนอื่นควรกำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูกไว้ล่วงหน้าว่ามีพันธุ์อะไรบ้าง และแต่ละพันธุ์

          ระยะปลูก ระยะปลูกที่นิยมปลูกกันมากที่สุดคือ ระยะ 1 x 2 เมตร ได้จำนวน 800 ต้น/ไร่ เพราะจะต้นแม่พันธุ์และได้กิ่งตาที่สมบูรณ์ และสะดวกในการกำจัดวัชพืชและการบำรุงรัษา

          การบำรุงรักษาและการใช้ปุ๋ย สถาบันวิจัยาง(2542) ได้แนะนำปุ๋ยผสมบำรุงแปลงกิ่งตายางมี 2 สูตรคือ 20-8-20  ในเขตปลูกยางเดิม 20 -10-12 ในเขตปลูกยางใหม่ การใส่ปุ๋ยแต่ละสูตรควรใส่ตามอายุของต้นกิ่งตายางในสภาพต่างๆเช่น การ บำรุงรักษาในช่วง 1-2 ปี ก่อนตัดใช้ และ อายุ 2 ปีเมื่อมีการตัดกิ่งตาไปใช้

          การใส่ปุ๋ยในช่วง 1-2 ปี แรก ใส่ตามอายุ ของต้นยาง คือ 2 , 4 และ  6 เดือน ควรใช้ปุ๋ยผสมสุตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิมสำหรับดินร่วนเหนียวอัตราครั้งละ  40 กิโลกรัมต่อไร่และดินร่วนปนทรายอัตราครั้งละ 60 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ สำหรับดินทุกชนิด อัตราครั้งละ 30 กิโลกรัมต่อไร่
         

          การใส่ปุ๋ยช่วงอายุ 2 ปี ขึ้นไป ให้ใส่ปุ๋ยทุกครั้งหลังจากตัดกิ่งตาไปใช้ และอีกหนึ่งครั้งหลังจากตัดล้างแปลงเพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงใหม่ โดยใช้ปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 ในแหล่งปลูกยางเดิม สำหรับดินร่วนเหนียวอัตรา ครั้งละ  40 กก./ไร่ และดินร่วนปนทรายอัตราครั้งละ 60 กก./ไร่ และสูตร 20-10-12 ในแหล่งปลูกยางใหม่ สำหรับดินทุกชนิด อัตราครั้งละ 30 กก./ไร่

 วิธีการตัดเลี้ยงกิ่งตายาง 

การตัดเลี้ยงในปีที่แรก
       1. เมื่อต้นยางอายุ  1 ปี หรือลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลสูงประมาณ 1 เมตร จะตัดกิ่งกระโดงไปใช้ได้เลยก็ได้ โดยตัดต้นที่ระดับความสูง 75 cm. จากพื้นดิน              
       2. ในกรณีที่จะผลิตเป็นกิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดของฉัตรที่ 3 หรือ 4 กิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดของฉัตรที่ 3 หรือ 4 ของกิ่งกระโดงทิ้ง เพื่อเลี้ยงกิ่งตาเขียวครั้งที่ 1 ปล่อยให้กิ่งแขนงออกมาบริเวณยอดฉัตรที่ยอด ตัดเลี้ยงไว้ 4-5 กิ่ง เมื่อกิ่งตามีใบแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้ พร้อมกันนี้ก็ตัดยอดฉัตรที่ต่ำลงมาทิ้ง เพื่อเลี้ยงกิ่งตาครั้งที่ 2 อีก ในปีหนึ่ง ๆ นั้น สามารถตัดเลี้ยงกิ่งตายางได้  3 ครั้ง เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้ว ก็ตัดล้างแปลง โดยตัดที่ระดับความสูง 75 ซม. จากพื้นดิน

การตัดเลี้ยงในปีที่ 2
      1. หลังจากการตัดล้างแปลงในปีแรก จะมีกิ่งกระโดงแตกออกมาจากลำต้นหลายกิ่ง ให้เลือกเลี้ยงกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้ 4 กระโดง/ต้น
     2. กิ่งกระโดงเจริญเติบโต 3-4 ฉัตร ให้ตัดยอดของฉัตรบนสุด เพื่อผลิตตาเขียวเหมือนกับปีแรกทุกประการ 
 การตัดเลี้ยงปีต่อๆไป
         เลือกเลี้ยงกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้ 4 กระโดง/ต้น เพื่อผลิตกิ่งตาเขียว
  การตัดกิ่งตาไปใช้
                        1. กิ่งตาเขียวขนาด 1 ฉัตร ที่จะตัดไปใช้ต้องมีอายุการเลี้ยงนานประมาณ 5-8 สัปดาห์ หรือใบฉัตรบนแก่เต็มีที่
                       2. ตัดก้านใบบนกิ่งตาออกให้หมด  โดยพยายามตัดให้เหลือโคนก้านใบน้อยที่สุด
                       3.ปลายกิ่งตาทั้ง 2 ด้าน ควรจ่มด้วยขี้ผึ้ง เพื่อลดการคายน้ำออกจากกิ่งตา
                      4.กิ่งตาที่ตัดไว้แล้ว ควรนำไปใช้ให้เร็วที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บกิ่งตายางไว้ข้ามวัน ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 วัน ควรเก็บในที่ร่มและมีความชื้นสูง

การคำนวนปริมาณการผลิตกิ่งตายาง
                   ต้นแม่พันธุ์ 1 ต้น เลี้ยงกิ่งกระโดง 1 กิ่ง และตัดเลี้ยงกิ่งตาเขียวปีละ 3 ครั้ง ๆ ละ 5 กิ่ง จะได้กิ่งตาจำนวน 15 กิ่ง/ต้น/ปี กิ่งตาที่สมบูรณ์ 1 กิ่งจะต้องมีตาสมบูรณ์ที่ใช้ได้ อย่างน้อย 2 ตา
                 ในการปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางโดยใช้  ระยะปลูก 1 x 2 เมตร  จะได้จำนวนต้นทั้งหมด   800 ต้น/ไร่ และแต่ละต้นจะให้ผลผลิต ต้นละ 15 กิ่ง/ไร่/ปี เพราะฉะนั้นในพื้นที่ 1 ไร่จะผลิตได้ 12,000 กิ่ง/ไร่/ปี



อ้างอิงข้อมูลจาก  การผลิตและขยายพันธุ์ยาง, ศูนย์วิจัยยางสงขลา, กรมวิชาการเกษตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น