ขอต้อนรับสู่ หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ ชมรมเพาะพันธุ์กล้ายางคุณภาพ ตอนนี้ยาง TP48 พันธุ์มาเลย์ พร้อมออกสู่เกษตรกรแล้ว สายพันธุ์อื่น ๆ ปรับราคาใหม่ ในราคาเกษตรกร และตอนนี้ทางชมรมต้องการตัวแทนตัวหน่ายกล้ายาง สนใจรายละเอียด กรุณาติดต่อโดยตรง

จับตาวิกฤติราคายางในทศวรรษหน้าเมื่อจีนใช้เพื่อนบ้านเป็นฐานปลูกเอง

กระดานสนทนาเกษตร - ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตรครบวงจร
จับตาวิกฤติราคายางในทศวรรษหน้าเมื่อจีนใช้เพื่อนบ้านเป็นฐานปลูกเอง

_____________________________________


ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา วงการประมูลซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากราคายางพาราพุ่งขึ้นกิโลกรัมละ 93.99
บาท สำหรับอย่างดิบ ส่วนยางแผ่นรมควันกิโลกรัมละ 99.62 บาท ขณะที่น้ำยางสดกิโลกรัมละ 94 บาท 

นายสมจิตต์ ศิขรินมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่
ระบุว่า จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อราคายางในระดับพื้นที่อย่างน้อยมี 3 ปัจจัยด้วยกัน
ปัจจัยแรก เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน ทำให้มีออเดอร์ยางเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่สองเกิดจากภาวะธรรมชาติที่มีความผันผวนมีผลมาจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ฝนตกหนัก ผลผลิตยางจึงมีน้อย และปัจจัยสุดท้าย มาจากจีนต้องซื้อยางพาราเพิ่ม
เพราะเป็นช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ซึ่งจีนจะหยุดงานยาว จึงต้องเร่งซื้อก่อนวันหยุด หากปล่อยไปพ้นตรุษจีนจะเข้าสู่หน้าแล้งยางจะเริ่มผลัดใบ ผลผลิตน้ำยางน้อยลง

ปัจจุบันประเทศไทยผลิตยางพารา เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 16.74 ล้านไร่ มีผลผลิตกว่า 3,000 ล้านตัน ล่าสุด นายศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาหัวข้อ "สวนยาง สร้างชุมชนภาคอีสานให้เข้มแข็งได้จริงหรือ"
ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จ.ขอนแก่น ว่า เดิมโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่นั้น จะเพิ่มเป็น 4 ล้านไร่ เพราะมีพื้นที่เหมาะสมที่ปลูก
โดยเฉพาะภาคอีสานมีถึง 9 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม หากมองปัจจัยที่ทำให้ราคายางพารา สูงในช่วงนี้ เกิดจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ

ความต้องการของตลาดจีนที่กำลังขยายอุตสาหกรมยานยนต์ และอีกปัจจัยหนึ่งเกิดความขาดแคลนผลผลิตยางพาราเนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติ และเป็นฤดูกาลยางพาราผลัดใบ
ทำให้เกษตรกรหยุดการกรีดยางชั่วคราว ฉะนั้นการที่ราคายางพาราสูงขึ้นในขณะนี้ น่าจะเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ถึงฤดูกาลที่เกษตรกรกรีดยางพร้อมกันอาจทำให้ราคาตกต่ำลง
ที่น่าเป็นห่วงยิ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้แนวโน้มราคายางพาราตกต่ำลงอย่างยาวนาน คือ การขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งในประเทศไทยเอง

และประเทศคู่ค้ารายสำคัญอย่างประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันจีนปลูกยางพารา ในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะที่แคว้นสิบสองปันนามีถึง 6.8 ล้านไร่ กรีดได้แล้วราว 4  ล้านไร่ และยังมีการสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ส.ป.ป.ลาว ที่ปลูกขนาบเส้นทางถนนสาย อาร์ 3บี ตั้งแต่เมืองห้วยทรายตรงกันข้ามกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ในรัศมี 10 กิโลเมตร ของสองฟากถนน จนถึงเมืองบ่อเตน จ.หลวงน้ำทา ติดชายแดนระยะทางกว่า 250 กิโลเมตร ประมาณการว่าลาวปลูกยางพาราถึงหลักล้านไร่ โดยจีนจะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมด

นายเพ้อเอิน แซ่ฉือ ผู้จัดการบริษัท หม่อนไหม ชิน เหมียน จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจแปรรูปยางพาราในรูปแบบยางแท่น ที่เมืองหล้า แคว้นสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวระว่างที่ นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นำคณะที่เป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยาง จ.จันทบุรี-ตราด กว่า 80 คน ไปศึกษาดูงานด้านการปลูกและการแปรรูปยางพารา ที่แคว้นสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ 10-14 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ว่า ปัจจุบันจีนปลูกยางพารา ทั้งหมด 6.8 ล้านไร่

อีกสวนหนึ่งเป็นปลูกใหม่ที่ยังไม่กรีด มีโรงงานทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน 11 แห่ง อย่างโรงงานของบริษัท หม่อนไหม ชิน เหมียน ถือเป็นของเอกชนรายใหญ่ มีกำลังผลิตยางแท่นวันละ 20 ตัน และกำลังขยายให้มีความสามารถผลิตได้วันละ 50ตัน "ตอนนี้จีนจะไม่ขยายการปลูกยางพาราอีก เพราะต้นยางพาราดูดน้ำในปริมาณที่มาก

ส่งผลให้น้ำใต้ดินลดลง และการปลูกยางพารา ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยด้วย หากเทียบกับป่าธรรมชาติ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงเป็นอย่างมาก แต่จีนจะสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว โดยจีนจะเป็นผู้รับซื้อ" นายเพ้อเอิน กล่าว นายเผิก กล่าวว่า การพาผู้นำเกษตรกรภาคตะวันออกมาศึกษาดูงานในครั้งนี้

เนื่องจากต้องการให้เกษตรกรเห็นถึงกระบวนการปลูกยางพาราและแปรรูปยางพาราของจีนว่าได้พัฒนาไปถึงไหน เพราะแม้วันนี้ไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก แต่อย่าลืมว่าปัจจุบันยังมีประเทศใกล้เคียงอย่างประเทศจีน ก็ปลูกยางพาราจำนวนมาก และอีก 5 ปีข้างหน้า
ทั้งจีน ส.ป.ป.ลาว จะมีโอกาสขายยางแผ่น ขี้ยาง เหมือนกับประเทศไทย ดังนั้นเกษตรกรไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนาระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น "เท่าที่ไปดูงานด้านการปลูกและแปรรูปยางพารา ของจีนดีกว่าของไทยในเรื่องการดูแลรักษาต้นยางค่อนข้างมีความเข้มงวด มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ที่จะกรีดยาง เช่น
เมื่อไรมีอากาศร้อนเกินไป อากาศหนาวเกินไป เกษตรกรชาวจีนจะหยุดกรีดยางทันที เมื่อมีโรคระบาดรัฐบาลจีนจะเข้ามาดูแลทันที แต่ถ้าในพื้นที่การปลูกไม่น่าห่วง เพราะจีนมีพื้นที่มีจำกัด แต่เรื่องผลผลิตต่างหากที่น่ากลัวมากกว่า จีนอาสาพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีมีผลผลิตสูง ขณะที่รัฐบาลของเราเน้นในเรื่องการปลูก โดยไม่มีอะไรรองรับว่า อีก 5 ปี หรือ 7 ปี ยางพาราที่ปลูกจะนำไปแปรรูปทำอะไรบ้าง เมื่อจีนกรีดยางได้หมด พร้อมลาวด้วย ในอนาคตราคายางพาราอาจมีปัญหาล้นตลาด

ยิ่งหากรายอื่นหรือประเทศที่ปลูกยางจับมือร่วมกันอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าไทยไม่ปรับตัวตั้งแต่วันนี้ อีก 5 ปีข้างหน้าผลผลิตยางที่กำลังออกมาในโลกกว่า 20 ประเทศ ก็จะสร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรไทยอย่างแน่นอน" นายเผิก กล่าว ด้าน นายนิพนธ์ เลาห์กิติกูล เหรัญญิกชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.จันทบุรี กล่าวว่า เท่าที่ฟังข้อมูลแล้ว

จีนไม่ใช่คู่แข่งในการปลูกยางของไทย เพราะมีพื้นที่จำกัด แต่จีนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ราคายางพาราของไทยตกต่ำ เพราะตลาดหลักของยางไทยนั้น จีนถือเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เมื่อจีนปลูกเอง และสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว และพม่า แน่นอนจีนจะซื้อยางพารา จากประเทศเหล่านี้ก่อน

ถึงเวลานั้นจะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกของไทยอย่างแน่นอน ส่วนการแปรรูปนั้น ตอนนี้ของไทยทันสมัยกว่า แต่อย่าลืมว่าจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีเร็วมาก และโรงงานบางแห่งที่เป็นของรัฐบาลอาจทันสมัยกว่าของไทยก็ได้ ดังนั้นหากประเมินแล้ว ในอีก 5 ปี หรืออีก 1 ทศวรรษข้างหน้า จีนถือเป็นประเทศที่น่ากลัวที่จะให้ราคายางพาราในตลาดโลกผันผวนได้ หากไทยไม่รีบปรับตัวแต่เนินๆ ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน 
ดลมนัส กาเจ
from: komchadluek.net
=======================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น